- วรรษมน อินทรสกุล
- 270 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | เพลงพื้นบ้านในจังหวัดพิษณุโลกในมิติของการสื่อสารทางวัฒนธรรม |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | กิตติมา ชาญวิชัย |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | เพลงพื้นบ้าน;การสื่อสารทางวัฒนธรรม |
หน่วยงาน | คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาเพลงพื้นบ้านในจังหวัดพิษณุโลกในมิติของการสื่อสารทางวัฒนธรรม ในด้านของความสำคัญของเพลงพื้นบ้านที่มีต่อชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างเพลงพื้นบ้านกับสื่อมวลชน วิธีการถ่ายทอด โดยศึกษาเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์เจาะลึกพ่อเพลง แม่เพลง ที่เป็นต้นกำเนิดของเพลงพื้นบ้านในท้องถิ่น ผู้นำ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ พบว่า เพลงพื้นบ้านเป็นความภาคภูมิใจในแง่ของ การเป็นประเพณีที่ทรงคุณค่า เป็นสิ่งยึดโยงผู้คนในชุมชนเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดความรักความสามัคคี ทำให้เกิดความสุขสนุกสนาน ในยามที่ได้ขับร้องร่วมกัน ทำให้เกิดการประสานการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างคนในชุมชน ทำให้ผู้คนผ่อนคลายความเครียด เป็นการฝึกสมองให้กับผู้ที่ขับร้อง การอนุรักษ์สืบสานเพลงพื้นบ้านต้องการให้ “ภาครัฐ” เข้ามามีส่วนช่วยมากที่สุด ส่วนสื่อมวลชน ชุมชนและสถานศึกษา รวมถึงนักวิชาการ ต่างถูกกล่าวถึงในลำดับต่อ ๆ มา |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/54625/45343 |
สาขาการวิจัย | - |
เพลงพื้นบ้านในจังหวัดพิษณุโลกในมิติของการสื่อสารทางวัฒนธรรม is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.