- สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
- 300 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | พื้นที่เมืองกับการดำรงอยู่ของร่างทรงเพศที่สามในสังคมไทย |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | จารุวรรณ ขำเพชร |
คำสำคัญ | พื้นที่เมือง;ร่างทรง;เพศที่สาม;กรุงเทพมหานคร |
หน่วยงาน | ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาเหตุผลที่ร่างทรงเพศที่สามเป็นที่นิยมมากขึ้น และศึกษาว่าเหตุใดคนในเขตพื้นที่เมืองและชานเมืองกรุงเทพมหานคร รวมถึงจังหวัดนนทบุรีจึงนิยมเข้าหาร่างทรง ผลการศึกษาพบว่า ร่างทรงเพศที่สามมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากเพศชายหญิงแท้จริง ซึ่งการลงทรงมีทั้งเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู การลงทรงของวีรบุรุษหรือบุคคลสำคัญของชาติในอดีต การลงทรงของเทพขั้นระดับต่ำลงมา ได้แก่ ฤาษี กุมารทอง เจ้าแม่ต่างๆ เป็นต้น เพราะในพื้นที่เมืองที่ผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยในเมืองต่างมีชีวิตที่รีบเร่ง โดดเดี่ยว ต้องการที่พึ่ง และการเข้าหาร่างทรงเพื่อให้ช่วยแก้ไขปัญหา ปัดเป่า และเสริมให้ชีวิตดีขึ้น การดำรงอยู่ของร่างทรงเพศที่สามมีอยู่มากในพื้นที่เมืองกรุงเทพมหานครแห่งนี้ ที่สำคัญคือ การเข้าทรงมีมากขึ้นและต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะความไม่แน่นอนในสังคมที่ไม่ให้หลักประกันต่อการใช้ชีวิตอย่างมั่นคงในสังคมเมือง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/191596/133728 |
สาขาการวิจัย |
|
พื้นที่เมืองกับการดำรงอยู่ของร่างทรงเพศที่สามในสังคมไทย is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.