ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับไบโอชาร์ ต่อการชะล้างสารอาหารในดินและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการปลูกข้าวอินทรีย์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง Ms.Udomluk Wisethaksorn
เจ้าของผลงานร่วม Assoc.Prof.Dr. Sirintornthep Towprayoon
คำสำคัญ Biochar, Nitrogen leaching, CH4 Emission, N2O Emission, Organic rice cultivation
หน่วยงาน The Joint Graduate School of Energy and Environment, King Mongkut
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษานี้ใช้ไบโอชาร์ซึ่งผลิตจากไม้โกงกาง (Rhizophora apiculata) เพื่อประเมินปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผลของการชะล้างไนโตรเจนในระบบดินนา (S) ที่มีธาตุอาหารต่ำเปรียบเทียบกับระบบนาข้าวอินทรีย์ (R) สองฤดูกาล ภายใต้ 4 เงื่อนไข ได้แก่ ชุดควบคุม (CT), ชุดไบโอชาร์ (BA), ชุดปุ๋ยหมัก (CA), และชุดผสมไบโอชาร์และปุ๋ยหมัก (BC) ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ไบโอชาร์ลดการปลดปล่อย CH4 และ N2O คิดเป็น GWP อยู่ระหว่าง 7.94% - 19.80% อีกทั้งลดปริมาณการชะล้างไนโตรเจนในรูปของ NO3- - N และ NH4+ - N โดยมีอัตราการชะล้าง NO3- - N อยู่ระหว่าง 0.166 - 0.358 g N m-3 crop-1 ในระบบดินนา และ 0.008 - 0.037 g N m-3 crop-1 ในระบบนาข้าวอินทรีย์ อัตราการชะล้าง NH4+ - N อยู่ระหว่าง 0.259 – 0.688 g N m-3 crop-1 ในระบบดินนา และ 0.034 – 0.152 g N m-3 crop-1 ในระบบนาข้าวอินทรีย์ อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำและมวลไนโตรเจนที่ถูกชะล้างจากระบบ ดังนั้น การศึกษานี้จึงสรุปได้ว่า ไบโอชาร์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บสารอาหารในดินได้และลดการสูญเสียไนโตรเจนสู่สิ่งแวดล้อมในระดับต่ำ การประยุกต์ใช้ไบโอชาร์ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับนาข้าวอินทรีย์ เนื่องจากลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก รักษาธาตุอาหารที่อยู่ในดินให้คงอยู่นานขึ้น และเพิ่มศักยภาพในการใช้น้ำต่อปริมาณผลผลิตข้าว
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับไบโอชาร์ ต่อการชะล้างสารอาหารในดินและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการปลูกข้าวอินทรีย์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


เรื่องที่เกี่ยวข้อง