ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ผ้าทอพื้นเมืองของชาวอีสาน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | เกศินี บัวดิศ |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | ผ้าทอพื้นเมือง;ชาวอีสาน |
หน่วยงาน | สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสยาม |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาผ้าทอพื้นเมืองพบว่า (1) จังหวัดสุรินทร์ มีผ้าโฮลนิยมใช้ไหมเส้นน้อยในการทอทำให้ผ้ามีความละเอียด เนื้อผ้าเบาบางและอ่อนนุ่ม (2) จังหวัดบุรีรัมย์ มีผ้ามัดหมี่ตีนแดงเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์ นิยมใช้ไหมที่มัดหมี่เป็นลวดลายพื้นเมืองทอด้วยผ้าไหมทั้งผืน เชิงของผ้ามัดหมี่ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นสีแดง ลวดลายเป็นแถบริ้วลวดลายจกขนาดเล็ก (3) จังหวัด นครราชสีมา มีผ้าหางกระรอกเป็นผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครราชสีมา เทคนิคการทอพิเศษโดยการใช้ไหมสองเส้น หรือสองสีทำเป็นเส้นลูกลาย ทำให้ผ้าที่ออกมาหลังจากการทอเสร็จสมบูรณ์จะมีลักษณะเหมือนภาพ 3 มิติ ลวดลายมีความเรียบง่าย แต่แฝงด้วยความประณีตและงดงาม (4) จังหวัดชัยภูมิ มีผ้าไหมลายหมี่คั่นขอนารีเป็นผ้าที่มีลวดลายเอกลักษณ์ของจังหวัดชัยภูมิ ลวดลายเกิดขึ้นมาจากความคิดและความเชื่อที่สืบต่อกันมา และ (5) จังหวัดมุกดาหาร มีผ้าไหมมัดหมี่ลายแก้วมุกดา เป็นผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวมุกดาหาร เกิดจากแนวคิดของผู้ว่าราชการจังหวัดในช่วงปี พ.ศ.2545 ที่อยากให้จังหวัดมีลวดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัด ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทอผ้าของชาวอีสาน ในแต่ละจังหวัดมีภูมิหลัง มีเอกลักษณ์และมีความโดดเด่นที่แตกต่างกันไป ทำให้ผ้าทอของแต่ละจังหวัด เป็นมรดกอันล้ำค่า |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://mcmac.udru.ac.th/mcmac_files/vol3_1_3.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
ผ้าทอพื้นเมืองของชาวอีสาน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.