ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การศึกษาคุณภาพเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมือง (ชี)
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ดวงนภา พรมเกตุ
เจ้าของผลงานร่วม ขนิษฐา เรืองวิทยานุสรณ์ , ทัศน์วรรณ สมจันทร์
คำสำคัญ ไก่ลูกผสมพื้นเมือง
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตไก่ลูกผสมพื้นเมืองชี ด้านคุณภาพเนื้อ ในการทดลองใช้ไก่ลูกผสมพื้นเมืองพันธุ์ชี อายุ 1 วัน จำนวน 3 กลุ่มพันธุ์คือ LBC, LSC และ LSRBC ทั้งหมด 180 ตัว ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 12 สัปดาห์ โดยสุ่มไก่ให้ได้รับปัจจัยการทดลองตามแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) พบว่า เนื้อสะโพกของไก่กลุ่มพันธุ์ LSRBC มีค่าความเป็นกรดด่างต่ำที่สุด เมื่อวัดในชั่วโมงที่ 24 สำหรับค่าความสว่างของ เนื้อสะโพกในชั่วโมงที่ 24 ไก่กลุ่มพันธุ์ LSC มีค่าความสว่างต่ำที่สุด เท่ากับ 45.072 เมื่อวัดค่าความเหลืองในเนื้อสะโพก ณ ชั่วโมงที่ 0, 24 ไก่กลุ่มพันธุ์ LSRBC มีค่าความเหลืองต่ำที่สุด การสูญเสียน้ำของเนื้ออกและเนื้อสะโพกขณะเก็บรักษา ไม่พบความแตกต่างทั้ง 3 กลุ่มพันธุ์ การสูญเสียน้ำจากการปรุงสุก พบว่า เนื้ออกและเนื้อสะโพกไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อนำไปผ่านขบวนการต้ม แต่หากผ่านขบวนการย่าง พบว่า ไก่กลุ่มพันธุ์ LBC มีค่าการ สูญเสียน้อยกว่าทุกกลุ่มการทดลอง ทั้งนี้อาจสรุปได้ว่ากลุ่มพันธุ์ที่เหมาะสมที่ให้คุณภาพเนื้อเป็นที่น่าพอใจคือ ไก่ลูกผสม LBC เพราะเมื่อนำไปปรุงสุก โดยการย่างมีค่าการสูญเสียน้ำจากการปรุงสุกต่ำที่สุด
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=66P-ANI-016.pdf&id=895&keeptrack=7
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การศึกษาคุณภาพเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมือง (ชี) is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง