ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง สัณฐานวิทยาและประสิทธิภาพการเบียนของแตนเบียน เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง 3 ชนิด
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นุชรีย์ ศิริ
เจ้าของผลงานร่วม กมลทิพย์ ใจขาล
คำสำคัญ Anagyrus lopexi;Aenasius advena;Acerophagus coccois
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การศึกษาสัณฐานวิทยาของแตนเบียนของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสามชนิด ได้แก่ แตนเบียนต่างถิ่น หนึ่งชนิดคือ Anagyrus lopezi และแตนเบียนท้องถิ่น สองชนิดคือ Acerophagus coccois และ Aenasius advena พบว่า แตนเบียน Ac. Cocois มีขนาดเล็กที่สุด มีลำตัวสีเหลือง ความยาว 0.97-1.02 มม. รองลงมาคือ แตนเบียน An. Lopezi มีลำตัวสีดำ ความยาวลำตัว 1.2-1.4 มม. และแตนเบียน A. advena มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลำตัวสีดำ ความยาวลำตัว 1.64 - 2.58 มม. An. lopezi และ Ae. Advena ใช้หนวดในการแยกเพศผู้และเพศเมีย ส่วน An. Coccois มีอวัยวะวางไข่เห็นชัดในเพศเมีย การศึกษาประสิทธิภาพการเบียนของแตนเบียนทั้งสามชนิด พบว่า มีความเฉพาะเจาะจงในการเบียนเพลี้ยแป้งสูงมาก โดย An. Lopezi เบียนเพลี้ยแป้งสีชมพู Phenacoccus manihoti 16 ตัว/วัน และแตนเบียน Ac. Coccois เบียนเพลี้ยแป้งสีเขียว Phenacoccus madeirensis และแตนเบียน Ae. Advena เบียนเพลี้ยแป้งลาย Ferrisia vergata และทั้งสองชนิดสามารถเบียนเพลี้ยแป้งได้ 11 ตัว/วัน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=81P-ENTO-054.pdf&id=914&keeptrack=17
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


สัณฐานวิทยาและประสิทธิภาพการเบียนของแตนเบียน เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง 3 ชนิด is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง