ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การผลิตและการส่งออกไฮโดรไลติกเอนไซม์จากบาซิลัสโดยการใช้ระบบการแสดงออกของยีนเพื่อใช้ในอาหาร |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ปีณิดา นามวิจิตร |
คำสำคัญ |
ไฮโดรไลติกเอนไซม์, บาซิลัส, ระบบการแสดงออกของยีนเพื่อใช้ในอาหาร |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 111 ถนนมหาวิทยาลัย ต. สุรนารี อ. เมือง จ. นครราชสีมา 30000 |
ปีที่เผยแพร่ |
2558 |
คำอธิบาย |
วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้คือการพัฒนาระบบการแสดงออกของยีนเพื่อการผลิตเอนไซม์ไคโตเนสจากเชื้อบาซิลัสที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมอาหาร โดยใช้เชื้อ L. plantarum เป็นเซลล์เจ้าบ้าน ซึ่งอาจจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตเอนไซม์ทางด้านอาหารในการผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคต โดยในการศึกษาวิจัยนี้ เอนไซม์ไคโตซาเนสลูกผสม ถูกสร้างขึ้นด้วยการเชื่อมต่อกับเปบไทด์นำสัญญาณ 2 ชนิด คือ เปบไทด์นำสัญญาณตามธรรมชาติของเชื้อ Bacillus subtilis และเปบไทด์นำสัญญาณของโปรตีนเยื่อหุ้มชั้นนอกของเชื้อ Escherichia coli หรือ OmpA จากนั้นทำการโคลนยีนดังกล่าวเข้าสู่พาหะที่ใช้ในการแสดงออกของยีนชื่อเวคเตอร์ pSIP409 จากนั้นนำยีนเอนไซม์ไคโตซาเนสดังกล่าวไปแสดงออกในเชื้อ L. plantarum WCFS1จากการวิเคราะห์พบว่า ผลผลิตของเอนไซม์ที่ได้จากการเลี้ยงเชื้อในปริมาตร 500 มิลลิลิตร ที่สภาวะเหมาะสม กิจกรรมเอนไซม์ที่อยู่ในน้ำเลี้ยงเชื้อมีประมาณ 10,700±25 ยูนิต และ 4,970±411 ยูนิต และมีประสิทธิภาพการส่งออกของเอนไซม์คิดเป็นร้อยละ 79.0 และ 89.0 สำหรับเอนไซม์ที่ใช้เปบไทด์นำสัญญาณจากธรรมชาติและเปบไทด์นำสัญญาณ OmpA ตามลำดับ ในขั้นตอนต่อไปได้ทำการสร้างเวคเตอร์สำหรับการผลิตเอนไซม์เพื่อสามารถใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร โดยการแทนที่ตำแหน่งของยีนต่อต้านยาอิริโทรไมซินด้วยยีนอะลานีน ราซิเมส เรียกเวคเตอร์ใหม่ที่ได้สร้างขึ้นนี้ว่า pSIP609CSN_nt และ pSIP609CSN_OmpA ผลจากการวัดกิจกรรมของเอนไซม์ในเบื้องต้นโดยการเลี้ยงเชื้อในขวดรูปชมพู่ปริมาตร 100 มิลลิลิตร พบว่า ค่ากิจกรรมในส่วนน้ำเลี้ยงเชื้อวัดได้ประมาณ 12,600 ยูนิต (U) ต่อลิตร ผลสรุปจากการศึกษานี้แสดงว่า สามารถใช้เชื้อ L. plantarum ในการผลิตเอนไซม์ไคโตซาเนสจากเชื้อบาซิลัสได้ ซึ่งระบบการผลิตเอนไซม์ที่ได้พัฒนาขึ้นมานี้มีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตโปรตีนชนิดอื่นๆ ได้ต่อไป |
สาขาการวิจัย |
|