ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ในจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาวัดตะเคียน วัดแสงสิริธรรม วัดไทรใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียง |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | กิตติ บุญนำ |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | แรงจูงใจในการมาเยือน;การรับรู้ของนักท่องเที่ยว;การกลับมาเยือนซ้ำของนักท่องเที่ยว |
หน่วยงาน | สาขาการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ของวัดตะเคียน วัดแสงสิริธรรมและวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี พบว่า ด้านศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาพบว่าวัดไทรใหญ่มีศักยภาพมากที่สุดทุกๆ ด้าน ส่วนด้านแรงจูงใจที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยมาเที่ยววัดมากที่สุดคือเพื่อทำบุญ รองลงมาคือเพื่อขอพรพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และซื้อ ของจากตลาดน้ำ ส่วนแรงจูงใจน้อยที่สุดคือเพื่อเช่าวัตถุมงคลมาบูชา ส่วนในด้านการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยว แตกต่างกันทุกด้าน นอกจากนี้ยังพบว่าวัดไทรใหญ่นักท่องเที่ยวชาวไทยรับรู้ทางด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด ในด้านแรงจูงใจที่เป็นปัจจัยผลัก (Push Factors) คือ 1).แรงจูงใจด้านการเรียนรู้และหาประสบการณ์ 2).แรงจูงใจหาความสงบทาง จิตใจ ชื่นชมสถาปัตยกรรม 3).แรงจูงใจเพื่อขอพรเพื่อสิริมงคลชีวิต 4).กิจกรรมท่องเที่ยวและพักผ่อน ส่วนในด้านอิทธิพลของตัวแปรที่มีอิทธิพลของการกลับมาเยือนซ้ำมากที่สุดคือเพื่อขอพรเป็นสิริมงคลของชีวิต |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://61.19.238.50/PTU/images/journal/data/8-2-2019-02/67.pdf |
สาขาการวิจัย |
|
แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา ในจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาวัดตะเคียน วัดแสงสิริธรรม วัดไทรใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.