ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษาศักยภาพในการต้านโรคอัลไซเมอร์ของเมลาโทนินและอนุพันธ์ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ปัญญดา ปัญญาทิพย์ |
เจ้าของผลงานร่วม | ผศ. ดร. เพลินทิพย์ ภูทองกิ่ง |
คำสำคัญ | เมลาโทนิน;อนุพันธ์เมลาโทนิน;โรคอัลไซเมอร์;ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ;การเมตาบอลิซึม |
หน่วยงาน | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | ในการพัฒนาอนุพันธ์ของเมลาโทนินเพื่อแก้ปัญหาด้านเภสัชจลนศาสตร์ของเมลาโทนินด้วยการแทนที่หมู่ที่มีความชอบไขมันที่ตำแหน่งไนโตรเจนอะตอมของเมลาโทนิน ได้เป็นอนุพันธ์ 1-5 โดยอนุพันธ์ที่ได้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นใน ORAC assay สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ β-secretase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สำคัญในกระบวนการสร้าง amyloid-β ในการศึกษาฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทของเมลาโทนินและอนุพันธ์ในสภาวะปราศจากซีรัม พบว่าที่ความเข้มข้น 1 nM เมลาโทนินและอนุพันธ์ 1, 3 และ 5 สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ประสาทได้อย่างมีนัยสำคัญและอนุพันธ์เหล่านี้ยังสามารถกระตุ้นให้เซลล์ประสาทเกิดการแตกแขนงและมีความยาวแขนงประสาทเพิ่มขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้อนุพันธ์ 2, 3 และ 4 ยังไม่เกิดการเมตาบอลิซึมขึ้นที่ตำแหน่งเดียวกับเมลาโทนิน |
สาขาการวิจัย |
|
การศึกษาศักยภาพในการต้านโรคอัลไซเมอร์ของเมลาโทนินและอนุพันธ์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.