ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การจัดการเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมในของเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของคนในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง กันต์ อินทุวงศ์
เจ้าของผลงานร่วม ไพโรจน์ นะเที่ยง , ดุษฎี บุญธรรม , พิทักษ์ คล้ายชม
คำสำคัญ กลุ่มวิสาหกิจ;เม็ดมะม่วงหิมพานต์;เสริมสร้างขีดความสามารถ;ยั่งยืน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย การดำเนินโครงการการจัดการเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมในของเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจเม็ดมะม่วง หิมพานต์ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของคนในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและยั่งยืนเป็นโครงการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อน้อมนำหลักการ/แนวพระราชดำริด้านการพัฒนาและส่งเสริมการการจัดการธุรกิจแบบมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างขีดความสามารถของคนในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและยั่งยืน และเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากงานวิจัยเทคโนโลยีกระบวนการผลิตและกระบวนการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในระดับกลุ่มชุมชนและเป็นการสร้างต้นแบบให้กับผลงานวิจัย ด้านเทคโนโลยีการจัดการธุรกิจแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อทำให้เกิดการพัฒนากระบวนการผลิตดด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะและสามารถลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 74 คน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนาเป็นจำนวนร้อยละ และค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยเบนมัธยฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์สรุปประเด็นซึ่ง การเก็บข้อมูลจากโครงการ KM: ภาคปฏิบัติชุมชนในรูปแบบ (Focus Group Discussion) โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจากผลสัมฤทธิ์ของ การฝึกอบรมจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าสิ่งประดิษฐ์งานวิจัยซึ่งมีเกณฑ์การประเมินในภาพรวมของความพึงพอใจผู้ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยภาพรวมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (= 4.30) โดยนำนวัตกรรมตู้อบพลังงานโดยการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ในช่วงเวลา 8:00 – 18:00 เมื่อนำอุณหภูมิภายในโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ มาเปรียบเทียบกับอุณหภูมิภายนอกโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์จะพบว่า มีค่าอุณหภูมิสูงสุดต่างกัน 16.91 องศาเซลเซียส และเมื่อทำการชั่งน้ำหนักก่อนที่จะนำเข้าไปตากในโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อตรวจสอบความสามารถอบแห้งเม็ดมะม่วงหิมพานต์ สรุปได้ว่าสามารถอบได้ครั้งละ 253.67 กิโลกรัม ซึ่งเป็นผลต้นแบบในการลดต้นทุนและได้นำมาถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชุมชน และในการอบรมการเรียนรู้พบว่าผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้นวัตกรรมในภาพรวมถึง ความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของผู้รับ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา เท่ากับ ร้อยละ 58.78 ซึ่งแสดงว่าผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี มีความรู้ความเข้าใจ เกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนเข้ารับการอบรมในระดับค่อนข้างม
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง