- ดร. ปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล
- 740 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษาคุณสมบัติบางประการของดิน และการเจริญเติบโตของยางพาราในจังหวัดขอนแก่น |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | วีระชน ศักดิ์พงษ์ |
เจ้าของผลงานร่วม | วิทยา ตรีโลเกศ , สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา |
คำสำคัญ | คุณสมบัติของดิน;การเจริญเติบโตของยางพารา;ยางพารา;จังหวัดขอนแก่น |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาคุณสมบัติบางประการของดิน และการเจริญเติบโตของยางพารา โดยมีแปลงทดลองคือ แปลงยางพาราติดป่าสูง แปลงยางพาราติดป่ากลาง แปลงยางพาราติดป่าต่ำ แปลงยางพาราติดหญ้าสูง แปลงยางพาราติดหญ้ากลาง และแปลงยางพาราติดหญ้าต่ำ ผลการศึกษาพบว่า คุณสมบัติทางกายภาพ เนื้อดินของแปลงที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อหยาบ สัมประสิทธ์การนำน้ำของดินส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ความหนาแน่นรวมของดิน ทุกแปลงมีค่าความหนาแน่นรวมของดินอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช คุณสมบัติทางเคมีของดิน ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) มีเพียงแปลงยางติดป่าต่ำมีคุณสมบัติเป็นกรดจัด ค่าความเค็ม (EC) พบว่า ทุกแปลงมีค่าความเค็มของดินอยู่ในระดับที่ไม่มีความเค็ม ปริมาณอินทรียวัตถุ ในดิน, ความจุในการแลกเปลี่ยนแคทไอออนของดินและปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ในดิน ทุกแปลงมีค่าอยู่ในระดับที่ต่ำ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ มีแปลงยางพาราติดป่าสูงและแปลงยางติดป่าต่ำมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนแปลงอื่น ๆ มีค่าอยู่ในระดับต่ำและปริมาณโพแทสเซียม ที่แลกเปลี่ยนได้ มีเพียงแปลงยางติดป่าต่ำเท่านั้นที่มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง แปลงอื่นมีค่าอยู่ในระดับต่ำ และการเจริญเติบโตของต้นยางพารา การเจริญเติบโตด้านความสูง จากการศึกษายางพาราในพื้นที่ต่างระดับในแต่ละแปลง พบว่าต้นยางพาราในทุกแปลงมีความสูงเพิ่มขึ้นทีละน้อยและมีความสูงที่เพิ่มขึ้นจากเดิม ส่วนการเจริญเติบโตด้านความโต (เส้นรอบวง) ต้นยางพารามีเส้นรอบวงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=109P-SOIL-0261.pdf&id=1743&keeptrack=6 |
สาขาการวิจัย |
|
การศึกษาคุณสมบัติบางประการของดิน และการเจริญเติบโตของยางพาราในจังหวัดขอนแก่น is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.