ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษาอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของชุมชนริมน้ำจันทบูรเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในร้านค้า |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ปุณยนุชวิภา เสนคำ |
เจ้าของผลงานร่วม | เอกพล สิระชัยนันท์ |
คำสำคัญ | ชุมชนริมน้ำจันทบูร;สถาปัตยกรรม;อัตลักษณ์;การรับรู้;การออกแบบภายใน |
หน่วยงาน | สาขาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของชุมชนริมน้ำจันทบูร ศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น รวมทั้งพฤติกรรมการรับรู้ภายใต้กรอบแนวคิด อัตลักษณ์สถานที่ (Place -Identity) โดยการทบทวนวรรณกรรม การสำรวจ การสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาคือ กลุ่มอาคารสมบัติริมน้ำ กลุ่มผู้ประกอบการอาวุโส และกลุ่มนักท่องเที่ยววัยผู้ใหญ่ตอนต้น ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) ลักษณะลวดลาย ควรใช้ ลวดลายธรรมชาติ เช่น ลวดลายขนมปังขิง ลวดลายเถาดอกไม้ ลวดลายของลำแสงพระอาทิตย์ และลวดลาย เรขาคณิต เช่น ตารางสี่เหลี่ยม ตารางแบบไขว้ ลวดลายโค้ง (Arch) 2) ลักษณะโทนสี ควรเป็นสีที่แสดงถึงเนื้อแท้ของ วัสดุที่มีความซีดจาง 3) ประเภทของวัสดุ เป็นวัสดุธรรมชาติที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง และ 4) รูปแบบอาคาร ควรเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโคโลเนียลหรือสถาปัตยกรรมชิโนโปร-ตุกีส |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://architservice.kku.ac.th/wp-content/uploads/2017/07/03-Punyanutwipha.pdf |
สาขาการวิจัย | - |
การศึกษาอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของชุมชนริมน้ำจันทบูรเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในร้านค้า is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.