ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | คติความเชื่อ รูปแบบของสัตว์หิมพานต์ในงานพระเมรุมาศ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | พินทุ์สุดา ดีช่วย |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | สัตว์หิมพานต์;งานพระเมรุมาศ |
หน่วยงาน | สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การศึกษาคติความเชี่อและสัตว์หิมพานต์ในงานพระเมรุมาศ สรุปดังนี้ กินนร กินนรี ครุฑ นาค ราชสีห์ คชสีห์ และหงส์ พบว่า คติความเชื่อการสร้างพระเมรุมศน่าจะมีที่มาจากเรื่องสมมติเทพที่ได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรเขมรโบราณ ที่เชื่อว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นเทพ เมื่อสวรรคตจึงต้องมีพระราชพิธีส่งเสด็จกลับสู่สวรรค์หรือเขาพระสุเมรุ สัตว์หิมพานต์สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นเขาพระสุเมรุ รูปแบบของสัตว์หิมพานต์ในงานพระเมรุมาศตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ไม่มีการเปลี่ยแปลงรูปแบบไปจากเดิมมากนัก จะแตกต่างกันเพียงลายเส้นแบบศิลปะตะวันตกที่เข้ามามีอิทธิพลในงานศิลปะไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 การใช้งานของสัตว์หิมพานต์เพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแห่พระบรมศพ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/1570/fulltext.pdf?sequence=2&isAllowed=y |
สาขาการวิจัย |
|
คติความเชื่อ รูปแบบของสัตว์หิมพานต์ในงานพระเมรุมาศ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.