ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
ผลของอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรและเชื้อเลปโตสไปราต่อการแสดงออกของยีนที่สร้างไซโตไคน์ในเซลล์ไต Hek 293 ที่มีการเพิ่มการแสดงออกของ Toll-like receptor 2 |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
นางสาวชวิกานต์ บุญวงศ์ |
เจ้าของผลงานร่วม |
ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ |
คำสำคัญ |
อนุภาคทองคำระดับนาโนเมตร, ไซโตไคน์, เชื้อเลปโตสไปรา, เซลล์ hTLR2 |
หน่วยงาน |
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ปีที่เผยแพร่ |
2558 |
คำอธิบาย |
ในปัจจุบันได้มีการนำอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาโรคเพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย รวมถึงอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรนั้นมีการรายงานถึงความสามารถในการต้านการอักเสบได้ ดังนั้นการศึกษาอิทธิพลของอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรในการแสดงออกของยีนที่สร้างไซโตไคน์ชนิด IL-1beta ภายหลังเกิดการอักเสบจากเชื้อเลปโตสไปราในสิ่งมีชีวิต จึงอาจเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มโรคติดเชื้อได้ ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า หลังจากกระตุ้นเซลล์ Human Embryonic Kidney 293 cells (HEK293) ที่มีการเพิ่มการแสดงออกของ TLR2 (hTLR2) ด้วยเชื้อเลปโตสไปรากับอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรขนาด 10 นาโนเมตร จะมีการเพิ่มการแสดงออกของยีน IL-1beta สูงขึ้น แต่เมื่อกระตุ้นด้วยเชื้อเลปโตสไปรากับอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตรขนาด 20 นาโนเมตร พบว่าการแสดงออกของยีน IL-1beta ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่กระตุ้นด้วยเชื้อเลปโตสไปราเพียงอย่างเดียว ซึ่งผลการศึกษาที่ได้อาจจะมีการนำอนุภาคทองคำระดับนาโนเมตร ที่ขนาด และความเข้มข้นที่เหมาะสมไปประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยลดการอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มอื่นได้ |
สาขาการวิจัย |
-
วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ
|