ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | วาทกรรมทางวัฒนธรรมและความไม่หลากหลายทางวัฒนธรรมในหลักสูตรและแบบเรียนสังคมศึกษา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ทิชานนท์ ชุมแวงวาปี |
เจ้าของผลงานร่วม | - |
คำสำคัญ | วาทกรรมทางวัฒนธรรม;ความไม่หลากหลายทางวัฒนธรรม;แบบเรียนสังคมศึกษา |
หน่วยงาน | สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | การวิเคราะห์และตีความจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ชาติพุทธศักราช 2545 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พุทธศักราช 2553, หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551, หนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาจาก 3 สำนักพิมพ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย, เอกสารสิ่งพิมพ์และงานเขียนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย พบว่า 1) วาทกรรมที่ปรากฏในหลักสูตรและการเรียนสังคมศึกษาที่เห็นเด่นชัดคือ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวทางวัฒนธรรม 2) บริบทของการเกิดวาทกรรมทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในหลักสูตรปัจจุบันเป็นความต่อเนื่องการสร้างวาทกรรมทางวัฒนธรรมในอดีตที่เป็นผลมาจากการสร้างวาทกรรมความเป็นไทย ในยุคของการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ในบริบทของการต่อสู้กับจักรวรรดินิยมตะวันตกและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจ และการจัดระเบียบการปกครองเพื่อทำให้คนเชื้อชาติต่างๆ ในสยามมีสำนึกของความเป็นไทย 3) การผลิตซ้ำและการขับเคลื่อนวาทกรรมทางวัฒนธรรมได้ดำเนินขับเคลื่อนผ่านสถาบันการศึกษาด้วยการสร้างความรู้ผ่านหลักสูตรและแบบเรียนเพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ หรือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวและลดทอนความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยตัดขาดบริบททางประวัติศาสตร์ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://mcmac.udru.ac.th/mcmac_files/vol5_1_04.pdf |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ | ด้านวิชาการ |
สาขาการวิจัย |
|
วาทกรรมทางวัฒนธรรมและความไม่หลากหลายทางวัฒนธรรมในหลักสูตรและแบบเรียนสังคมศึกษา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.