ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การศึกษากระบวนการจัดการขยะถุงน้ำยาล้างไต: กรณีศึกษาการไหลของวัสดุและระบบการจัดการควบคุมขยะในจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผศ.ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์
เจ้าของผลงานร่วม ดร.กุลวรรณ โสรัจจ์ , พชร วารินสิทธิกุล , รัชนี จูมจี , พัฒนศักดิ์ ปทุมวัน , ศศิธร อดิศรเมธากุล , ดร.อนุวัฒน์ ยินดีสุข , ดร.ธีรวรรณ บุญโทแสง
คำสำคัญ ถุงน้ำยาล้างไต;การล้างไตทางช่องท้องด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง (CAPD);การวิเคราะห์การไหลของวัสดุ;การประเมินความเสี่ยง;การจัดการขยะ
หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ปีที่เผยแพร่ 2563
คำอธิบาย ขยะถุงน้ำยาล้างไตของผู้ป่วย CAPD ใน จ.อุบลราชธานี มีปริมาณคาดการณ์ 476,679 กก./ปี ซึ่งพบการจัดการ 4 รูปแบบ คือแบบขยะรีไซเคิล ขยะติดเชื้อ ขยะทั่วไป และกำจัดเอง การจัดการแบบขยะรีไซเคิลมีสัดส่วนสูงถึง 461,203 กก./ปี และจัดเป็นรูปแบบที่เหมาะสมซึ่งสามารถลดความเสี่ยงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ โดยผ่านขั้นตอน 1) เทน้ำยาลงโถส้วม 2) แยกถุง สายยาง ข้อต่อ 3) ทำความสะอาดและทำให้แห้งโดยล้างน้ำเปล่าแล้วตากแดดหรือผึ่งลมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ 4) รวบรวมใส่ภาชนะระบายความชื้นดี เก็บกองกลางแจ้ง ก่อนขายหรือทิ้งเป็นขยะทั่วไปเป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ป่วย CAPD ปกติเท่านั้น
สาขาการวิจัย
  • วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง