ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษาแหล่งที่มาและแผนที่ของอนุภาคขนาดนาโนในบรรยากาศของประเทศไทยรวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล |
เจ้าของผลงานร่วม | ผศ.ดร.พรรณวดี สุวัฒิกะ , ดร.ธัญภัสสร์ ทองเย็น , ผศ.ดร.ธนียา เจติยานุกรกุล , ผศ.ดร.สุรจิตร ทีฆสกุล , ดร.ระชา เดชชาญชัยวงศ์ , ดร.วรดร ไผ่เรือง , รศ.ดร.ขจรศักดิ์ โสภาจารีย์ , ดร.กิตติชัย ดวงมาลย์ , ดร.นพ.ธรรมสินธ์ อิงวิยะ , ผศ.ดร.ฐิติวร ชูสง , รศ.ดร.ตุลวิทย์ สถาปนจารุ |
คำสำคัญ | อนุภาคนาโน;องค์ประกอบคาร์บอน;สารพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน;สัดส่วนแหล่งกำเนิด |
หน่วยงาน | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | โครงการวิจัยการศึกษาแหล่งที่มาและแผนที่ของอนุภาคขนาดนาโน (PM0.1) ในบรรยากาศของประเทศไทย ศึกษาวิจัยคุณลักษณะทางกายภาพเคมี และแหล่งที่มาของมวลอนุภาคขนานาโนในบรรยากาศของประเทศไทยทั้ง 3ภูมิภาค ได้แก่ ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคเหนือ รวมทั้งศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม พบว่า ความเข้มข้น PM0.1 ของบรรยากาศในประเทศไทยอยู่ในช่วง 0.90±9.64 - 12.68±1.01 µg/m3 โดยในช่วงหมอกควัน (Haze) มีค่าสูงกว่าช่วงปกติ (non-haze) ประมาณ 2-3 เท่า โดยแหล่งที่มาของ PM0.1 ส่วนใหญ่ในช่วงหมอกควันเกิดจากการเผาชีวมวลในที่โล่งเป็นหลัก ผสมกับการเผาไหม้เชื้อเพลิงดีเซลในพื้นที่ และจากการศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ พบว่า ความเข้มข้น PM0.1 ที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วยมีความสัมพันธ์กับกลุ่มโรคหืดกำเริบ กลุ่มโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน และกลุ่มโรคปอดติดเชื้อ |
สาขาการวิจัย |
|