ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การศึกษาความเป็นไปได้ในการกักเก็บ CO2 เชิงธรณีภายในแอ่งสงขลา ซี ของอ่าวไทยตอนล่าง |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อภิชาติ ชุมคง |
เจ้าของผลงานร่วม | รศ. ดร.สวัสดี ยอดขยัน |
คำสำคัญ | ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 concentration);แหล่งปลดปล่อย CO2 ขนาดใหญ่ (large point source);การกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเชิงธรณี (CO2 geological storage);แอ่งสงขลา ซี (Songkhla C basin);ลักษณะประจำของคลื่นไหวสะเทือน (seismic attribute);อันตรายจากการอัด CO2 (hazard of CO2 injection) |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยสงชลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
คำอธิบาย | CCS) ในการกำจัด CO2 ซึ่งมีองค์ประกอบคือ การดักจับ CO2 การขนส่ง CO2 และการกักเก็บ CO2 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อประเมินเชิงปริมาณของแหล่งปลดปล่อย CO2 จากโรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลรวมถึงการประเมินปริมาณการกักเก็บ CO2 ในเชิงธรณีวิทยาของแอ่งสะสมตะกอนในประเทศไทย 2) เพื่อประเมินการกักเก็บ CO2 ของแอ่งสงขลา ซี โดยใช้แบบจำลองทางธรณีวิทยาแบบ 3 มิติ และ 3) เพื่อประเมินอันตรายจากการอัด CO2 และความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวในการกักเก็บ CO2 ใต้ผิวดินระยะยาว ผลจากการวิจัยพบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 จากโรงไฟฟ้าชีวมวล และจากโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของประเทศไทยมีทั้งหมดประมาณ 1.134 ล้านตัน และ 105 ล้านตันตามลำดับ ปริมาณความจุสะสมของ CO2 ในแอ่งปิโตรเลียมทั้งบนบก และนอกชายฝั่งของประเทศไทยมีประมาณ 165.12 ล้านตัน และ 2,120 ล้านตัน ตามลำดับ ผลลัพธ์นี้สามารถแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงที่มาของแหล่งปลดปล่อย CO2 ที่มีอยู่หลายแหล่งทั่วประเทศ และตำแหน่งของแอ่งสะสมตะกอนสำหรับกักเก็บ CO2 เพื่อแสดงให้เห็นถึงการจัดการกับ CO2 ในงานวิจัยนี้ได้จัดความสัมพันธ์เชิงระยะทางที่เหมาะสมระหว่างแหล่งปลดปล่อย CO2 และแหล่งกักเก็บ CO2 ของประเทศไทย จากแบบจำลองทางธรณีวิทยา 3 มิติของ Songkhla Lower Miocene (SLM) ที่สร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูล แผนที่โครงสร้างตามความลึก ข้อมูลทางธรณีวิทยา และข้อมูลคุณสมบัติของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม เมื่อประเมินปริมาณด้วยแบบจำลองที่ใช้ Well E และ Well F อัด CO2 พบว่า SLM สามารถกักเก็บ CO2 ได้ประมาณ 2.56 และ 2.89 ล้านตัน ตามลำดับ นอกจากนี้แบบจำลองทางธรณีวิทยา 3 มิติของ SLM สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับการตรวจสอบ วิเคราะห์พิกัดเชิงพื้นที่ และการกระจายตัวของคุณสมบัติชั้นหิน ในการประเมินอันตรายต่อการอัด CO2 สามารถใช้แบบจำลองทางธรณีวิทยาแบบ 3 มิติ ตรวจสอบการเคลื่อนที่ของ CO2 เพื่อติดตามตำแหน่งที่เคลื่อนที่ไปตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง และสามารถควบคุมแรงดันในระหว่างการอัด CO2 ไม่ให้มีค่าเกินแรงดันตั้งต้นของแหล่งกักเก็บที่ความดัน 230 บาร์ ซึ่งสามารถลดการเหนี่ยวนำทำให้เกิดแผ่นดินไหวจากการอัด CO2 ที่จะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนในแหล่งกักเก็บจากการอัดในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบการอัดโดยใช้หลุมอัด CO2 หลายหลุมได้อย่างปลอดภัย การประเมินความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวในพื้นที่ของแอ่งสงขลา ซึ่งเป็นแอ่งสะสมตะกอนที่อยู่ทางตะวันตกของอ่าวไทยตอนล่างที่ในอดีตมีกิจกรรมแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวที่เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก นอกจากนั้นแอ่งสงขลายังอยู่ไกลจากรอยเลื่อนที่มีพลังและแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก จากผลของแบบจำลองทางธรณีวิทยาพบว่าแอ่งสงขลาเป็นแอ่งที่เกิดจากการเลื่อนของแผ่นดินในแนวเฉือนและถูกดึงออกจากกัน (transtensional pull-apart basins) โครงสร้างของแอ่งสงขลามีขนาดเล็ก แคบ และมีรอยเลื่อนที่สั้น ปัจจัยทั้งหมดนี้ทำให้ความเสี่ยงจากการเกิดแผ่นดินไหวจึงเป็นไปได้ค่อนข้างต่ำ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://publisher.uthm.edu.my/ojs/index.php/ijie/article/view/2846 |
สาขาการวิจัย |
|
การศึกษาความเป็นไปได้ในการกักเก็บ CO2 เชิงธรณีภายในแอ่งสงขลา ซี ของอ่าวไทยตอนล่าง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.