ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสังกัดสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ : การพัฒนาเครื่องมือวัด และประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้าง ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | พ.ต.ท.หญิง พันธนิภา วินิจกิจเจริญ |
คำสำคัญ | ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง , สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ , จิตตปัญญาศึกษา |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
ปีที่เผยแพร่ | 2564 |
คำอธิบาย | ผลการวิจัยระยะที่ 1 ผลจากการสัมภาษณ์เพื่อค้นหาลักษณะและองค์ประกอบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร พบว่า ผู้บริหารมีองค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล โดยค้นพบองค์ประกอบใหม่หนึ่งองค์ประกอบ คือ การใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม และเมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ผลการวิจัยพบว่ามี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านการใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.44, 0.42, 0.35, 0.30 และ 0.28 ตามลำดับ (Chi-Square=5.82, df=5, P-value=0.32375, RMSEA=0.041) และแบบวัดความภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วยข้อคำถามที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกทั้งสิ้น 50 ข้อ โดยแต่ละด้านมีข้อคำถามด้านละ 10 ข้อ และผลการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทั้งฉบับที่ได้มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 และเมื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดโดยแยกตามองค์ประกอบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นรายด้านพบว่า ด้านการสร้างแรงบันดาลใจมีค่าความเชื่อมั่นมากที่สุด คือ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .837 รองลงมาคือ การใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม มีค่าวามเชื่อมั่นเท่ากับ .827 ตามลำดับ และผลการวิจัยระยะที่ 2 ในระยะหลังการทดลอง ผู้บริหารที่ได้รับการพัฒนาตามโปรแกรมฯมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรายด้านทุกด้านสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ .726 .265 .383 .520 และ .574 ตามลำดับ และในระยะติดตามผลหนึ่งเดือน พบว่า ผู้บริหารที่ได้รับการพัฒนาตามโปรแกรมฯมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรายด้านทุกด้านสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะติดตามผลหนึ่งเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ .245 .233 .266 .521 และ .551 ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการได้รับ/ไม่ได้รับการพัฒนาตามโปรแกรมฯกับระดับของตัวแปรปฏิสัมพันธ์ร่วมที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผลการวิจัยในระยะหลังการทดลอง และในระยะติดตามผลหนึ่งเดือนพบว่า ผู้บริหารที่มีระดับของความผูกพันในองค์การต่ำ และความพึงพอใจในงานต่ำ และได้รับการพัฒนาตามโปรแกรมฯ มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลสูงกว่าเดิมเพียงด้านเดียว ในขณะที่ผู้บริหารที่เป็นกลุ่มทดลองทั้งกลุ่มที่มีระดับความเหนียวแน่นของกลุ่มต่ำและกลุ่มสูง และได้รับการพัฒนาตามโปรแกรมฯ มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลสูงกว่าผู้บริหารที่ไม่ได้รับการพัฒนาตามโปรแกรมฯ |
สาขาการวิจัย |
|
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสังกัดสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ : การพัฒนาเครื่องมือวัด และประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้าง ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.