ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาชุดโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์อัตโนมัติในโรงเรือนอนุบาลลูกไก่ชน |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ดร.สิทธิโชค พรรค์พิทักษ์ |
เจ้าของผลงานร่วม |
วิทยา จันทร์บุตราช ,
วิวัฒน์ สุระเสียง ,
วีระ บุรี |
คำสำคัญ |
ลูกไก่ชน;โรงเรือนอัตโนมัติ;สมาร์ทฟาร์ม;ชุดควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
ปีที่เผยแพร่ |
2564 |
คำอธิบาย |
บทความนี้นำเสนอการออกแบบและพัฒนาซอร์ฟแวร์ระบบควบคุมอุณหภูมิความชื้นสัมพันธ์และความร้อนรอบๆ ในโรงเรือน มีระบบแบบทำความเย็นด้วยวิธีการพ่นไอละอองน้ำ (สเปรย์หมอกละอองน้ำ)แบบอัตโนมัติ ซึ่งใช้ระบบสั่งการแบบอัตโนมัติ PLC เป็นชุดอุปกรณ์ควบคุม (arduino) โดยรับสัญญาณทั้งดิจิตอลและอะนาล็อกจากชุดเซ็นเซอร์ต่างๆ อาทิเช่น ชุดตัววัดอุณหภูมิ ชุดตรวจวัดความชื้นสัมพันธ์ และชุดตรวจวัดความร้อนรอบๆ โรงเรือน โดยสามารถสั่งการผ่านระบบชุดควบคุมหน้าตู้คอนโทรล โดยสามารถสั่งการทำงานได้แบบอัตโนมัติ เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถใช้งานได้ง่าย สะดวกสบายและประหยัดเวลา โรงเรือนปิดนี้จะติดตั้งชุดควบคุมอัตโนมัติ ผ่านการตรวจจากชุดเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งในโรงเรือนได้แก่ ชุดตัววัดอุณหภูมิ ชุดตรวจวัดความชื้นสัมพันธ์ และชุดตรวจวัดความร้อน โดยข้อมูลเหล่านี้ถูกบันทึก ประมวลผล และส่งข้อมูลมายังบอร์ดควบคุม (arduino uno) ชุดควบคุมนี้สามารถควบคุมปัจจัยที่สำคัญสำหรับการอนุบาลลูกไก่ชน คืออุณหภูมิ โดยมีการสั่งการอยู่ 2 ระบบใหญ่ๆ คือ 1. ชุดตรวจสอบความร้อนรอบๆ โรงเรือน และ 2. ชุดตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ในโรงเรือน โดยทั้งสองระบบนี้จะทำงานควบคุมกันไป โดยชุดควบคุมปริมาณการสเปรย์หมอกจะทำงานอัตโนมัติตามค่าที่ผู้ใช้กำหนดและในกรณีที่ความร้อนภายในโรงเรือนสูงเกินค่าที่ตั้งไว้ ชุดระบายความร้อนด้วยอากาศจะทำงานและถ้ามีอุณหภูมิในโรงเรือนสูงเกินกว่ากำหนดขึ้นไปอีกก็จะมีชุดสั่งทำสเปรย์หมอกน้ำให้ลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนอีกแบบอัตโนมัติ (ตามค่าที่กำหนดไว้)
งานนวัตกรรมนี้ได้ทดสอบประสิทธิภาพของโรงเรือนที่ติดตั้งชุดควบคุมอัตโนมัตินี้ โดยนำสัตว์เล็ก(ลูกไก่ชน) มาใช้ในการทดสอบในโรงเรือนปิดที่ติดตั้งชุดควบคุมสภาวะแวดล้อมแบบอัตโนมัติ (เลี้ยงแบบธรรมชาติ) ได้ผลการทดลองดังนี้ จากการทดลองในโรงเรือนปิดที่รักษาสภาวะแวดล้อมที่สมดุลได้ดีกว่าสภาพแวดล้อมที่เลี้ยงตามธรรมชาติ (ค่าเฉลี่ยความอยู่รอด คิดเป็น 90.0%-100%) สามารถควบคุมอุณหภูมิได้คงที่กว่าการเลี้ยงแบบธรรมชาติ (ค่าเฉลี่ยระหว่าง 32.14˚C และ 34.6˚C ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบการเลี้ยงแบบธรรมชาติที่มีอุณหภูมิภายนอก (ไม่คงที่) แล้วเมื่อนำมาเปรียบอัตราการอยู่รอดของลูกไก่ชนแล้ว พบว่า การเลี้ยงในโรงเรือนปิด มีอัตราการอยู่รอดถึง 90-100% แต่เลี้ยงแบบธรรมชาติอัตราการอยู่รอดจะเฉลี่ย 70-90% ดังนั้นวิธีเลี้ยงในโรงเรือนจะมีประสิทธิภาพและรักษาชีวิตของลูกไก่ชนได้ดี ซึ่งวิธีการนี้เหมาะสำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ชนจำนวนมาก แล้วต้องการให้เปอร์เซ็นต์การคงอยู่ มากกว่าเลี้ยงแบบธรรมชาติอย่างเห็นได้ชัดเจน สรุปโรงเรือนปิดที่ติดตั้งชุดควบคุมสภาวะแวดล้อมและการมอนิเตอร์แบบอัตโนมัติ สามารถให้ผลผลิตทางการเกษตรได้คุณภาพที่ดี อีกทั้งบุคคลทั่วไปหรือผู้ที่สนใจสามารถนำไปใช้ในฟาร์มของตนเองได้ง่ายสะดวกสบาย |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
http://www.thai-explore.net/
|
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ |
ด้านวิชาการ |
สาขาการวิจัย |
|