ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
ต้นแบบเยาวชนสำนึกรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติพื้นที่ลำน้ำโดยกระบวนการเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสู่การขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปการศึกษาของจังหวัดมหาสารคาม |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
รภัสสา จันทาศรี |
เจ้าของผลงานร่วม |
วิรุณ โมนะตระกูล ,
ชลดา ยอดยิ่ง |
คำสำคัญ |
การสร้างจิตสำนึก;ต้นแบบเยาวชน;สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา;การอนุรักษ์ทรัพยากรลำน้ำ;งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
ปีที่เผยแพร่ |
2564 |
คำอธิบาย |
วัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริ งานสวนพฤกษศาสตร์ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เพื่อสร้างเครือข่ายต้นแบบเยาวชนสำนึกรักษ์ทรัพยากรลำน้ำในท้องถิ่น โดยกระบวนการเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมในการอนุรักษ์ลำน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ตามกระบวนการเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และเพื่อเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนพัฒนาเป็นนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ระดับจังหวัดมหาสารคาม มีระยะเวลาดำเนินงาน ๑๒ เดือน ช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในพื้นที่สำนักงานเขตการศึกษาทั้ง ๓ เขต จังหวัดมหาสารคาม วิธีการดำเนินงาน ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน ๑. เลือกพื้นที่เป้าหมาย ๒. กระบวนการปลุกปั้นความคิด ๓. กระบวนการปรับเปลี่ยน ๔.จัดกิจกรรมการอนุรักษ์เพื่อสร้างการรับรู้ สร้างจิตสำนึกรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติลำน้ำชีและ ๕.คัดเลือกต้นแบบเยาวชนสำนึกรักษ์ลำน้ำ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความรู้เพื่อขยายผลในสำนักงานพื้นที่เขตการศึกษาทั้ง ๓ เขต พื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มีโรงเรียนเข้าร่วมสนองพระราชดำริ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และสามารถสร้างเครือข่ายโครงการต้นแบบเยาวชนสำนึกรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติพื้นที่ลำน้ำได้ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๕๘ โรงเรียน ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม การถอดบทเรียนกระบวนการขับเคลื่อน ๕ กระบวนการ โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งสิ้นจำนวน ๒๓ ครั้ง คัดเลือกโรงเรียนต้นแบบเยาวชนสำนึกรักษ์ทรัพยากรลำน้ำได้ จำนวน ๓ โรงเรียน
ผลสำเร็จของโครงการ : ทั้ง ๕๘ โรงเรียน นำกระบวนการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ลำน้ำโดยผ่านงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นสื่อการสร้างศักยภาพ ความพร้อมและสอดคล้องกับหลักสูตร การเรียนการสอนในแต่ละช่วงชั้นและได้บูรณาการพืชศึกษาจัดทำกิจกรรมพืชน้ำอนุรักษ์ลำชี การสร้างจิตสำนึก “คนอยู่กับน้ำ” ถ่ายทอดองค์ความรู้เข้าไปในชุมชน มีจิตสำนึกในการรักษ์น้ำ โดยบำบัดน้ำเสียด้วยพืชน้ำหลายชนิด อาทิ บัวหลวง บัวสีชมพู กก บัวสาย แหนแดง และผักผำ เป็นต้น กิจกรรม ลำชีสายน้ำแห่งชีวิต ได้สร้างต้นแบบเยาวชนที่มีจิตสำนึกรักษ์ทรัพยากรลำน้ำชีและแหล่งน้ำอื่น ๆ ในชุมชนโดยร่วมบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่ได้นำองค์ความรู้มาขยายผลให้กับครูและผู้ปกครองของนักเรียนที่อยู่ในชุมชน และประชาชนตามฝั่งลำน้ำชี ตลอดจนโครงการทหารพันธุ์ดี การสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนและชุมชน การรวมกลุ่มในการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ จากแหนแดง นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้ภายในชุมชน พร้อมพัฒนาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตรงกับคำที่ว่าคนอยู่กับน้ำได้อย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน การศึกษาความสัมพันธ์วิถีชีวิตของคนลำน้ำชี มีการพึ่งพาอาศัยระหว่างกันของชาวบ้าน มีความร่วมมือของคนภายในชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆขึ้นเพื่อเป็นอาชีพเสริมให้สำหรับคนในชุมชนโดยเฉพาะการแปรรูปจากกกเป็นพืชประจำท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและมีการต่อยอดการใช้ประโยชน์ของพืชน้ำอย่างยั่งยืน
การสำรวจความพึงพอใจและการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ พบว่า สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.75) มีอายุอยู่ในช่วง 41-50 ปี ขึ้นไป (ร้อยละ 40.50) มากที่สุด มีการศึกษาระดับการศึกษาปริญญาตรี (ร้อยละ 55.25) มากที่สุด มีการประกอบอาชีพเป็นครู-อาจารย์ มากที่สุด ร้อยละ 40.5 มีประสบการณ์ในการทำงาน อยู่ในช่วง มากกว่า 40 ปี มากที่สุด ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจเกี่ยวกับโครงการ แยกเป็น 6 ประเด็นความคิดเห็น : ด้านเนื้อหา ด้านวิทยากร ด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่โครงการ
ด้านความเข้าใจ และด้านการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ มีภาพรวมค่าเฉลี่ยทั้ง 6 ด้าน ร้อยละ 4.68 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.73
|
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ |
ด้านวิชาการ |
สาขาการวิจัย |
-
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
-
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
|