ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ศักยภาพการผลิตพลังงานจากของเสียปางช้าง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท
เจ้าของผลงานร่วม หทัยทิพย์ สินธุยา , ศศิธร ใสปา
คำสำคัญ ศักยภาพพลังงานชีวมวล;ชีวมวล;ก๊าซชีวภาพ;ของเสียปางช้าง
หน่วยงาน วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย
ปีที่เผยแพร่ 2564
คำอธิบาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการของเสียประเภทมูลช้างด้วยกระบวนการเปลี่ยนไปเป็นพลังงานในรูปแบบของพลังงานความร้อน โดยงานวิจัยนี้จะทำการเปรียบเทียบการแปรสภาพวัตถุดิบประเภทมูลช้างสดด้วยกระบวนการ 2 รูปแบบ ประกอบด้วย กระบวนการที่ 1 การนำมูลช้างสดมาผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลโดยตรง และกระบวนการที่ 2 การนำมูลช้างสดมาผลิตก๊าซชีวภาพและนำกากตะกอนที่ออกจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งจะทำการพิจารณาศักยภาพจากพลังงานความร้อนรวมของทั้งระบบที่สามารถผลิตได้ของแต่ละกระบวนการ โดยวัตถุดิบตั้งต้นประเภทมูลช้างสดมีปริมาณของค่าความชื้น สารระเหย คาร์บอนคงตัว เถ้า และ C/N Ratio เท่ากับ 2.67 ± 0.24%, 67.23 ± 0.22%, 15.86 ± 0.18% 14.24 ± 0.25% และ 36.44 ± 0.05 ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่า กระบวนการที่ 1 และกระบวนการที่ 2 จะให้ปริมาณของค่าความร้อนรวมของทั้งระบบ เท่ากับ 15.86 ± 0.08 และ 13.77 ± 0.04 MJ/kg-dry weight ตามลำดับ โดยกระบวนการที่ 1 เป็นกระบวนการที่เหมาะสมมากกว่ากระบวนการที่ 2 ซึ่งจะมีศักยภาพในการผลิตพลังงานความร้อนลดลงถึง 15.22% แต่อย่างไรก็ตามการออกแบบและการศึกษาลักษณะของระบบเตาชีวมวลที่เหมาะสมในการเผาไหม้เชื้อเพลิงมูลช้างก็ถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญและต้องมีการพัฒนาต่อยอดในอนาคต เนื่องจากมูลช้างเป็นวัตถุดิบที่มีปริมาณของสารระเหยที่ค่อนข้างสูง เพื่อเป็นการหาแนวทางในการช่วยลดปัญหาการปล่อยมลพิษลงสู่สิ่งแวดล้อมและสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในเขตพื้นที่ปางช้างให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี
Creative Commons License


ศักยภาพการผลิตพลังงานจากของเสียปางช้าง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง