- ดร. กมลวรรณ อูปเงิน
- 651 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การวิเคราะห์ทรานสคริปโตมและการศึกษารายละเอียดของยีนที่เกี่ยวข้องกับชีวสังเคราะห์ของกรดบรัยโอโนลิกในบวบขม |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | พรภัสสร เลิศผดุงกิจ |
คำสำคัญ | บวบขม;กรดบรัยโอโนลิก;การวิเคราะห์ทรานสคริปโตม;ชีวสังเคราะห์ |
หน่วยงาน | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ปีที่เผยแพร่ | 2564 |
คำอธิบาย | สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนนับว่าเป็นสารที่พบได้เป็นส่วนใหญ่ในพืช และมีการรายงานว่าสารกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในทางการแพทย์มากมาย ดังนั้นการศึกษาสารกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญในปัจจุบัน บวบขมเป็นพืชชนิดหนึ่งในวงศ์ Cucurbitaceae ที่ถูกใช้เป็นพืชสมุนไพรมาเป็นเวลานาน สารสำคัญในพืชชนิดนี้ได้แก่กรดบรัยโอโนลิก ซึ่งเป็นสารในกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ ที่มีการรายงานก่อนหน้านี้ว่ามีฤทธิ์เป็น anti-inflammation และ anti-proliferation ที่ดี ในการทดลองนี้ได้ใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทั้งการสร้างแคลลัส และเซลล์แขวนลอย เพื่อเพิ่มปริมาณการสร้างกรดบรัยโอโนลิก พบว่าแคลลัสสามารถสร้างสารชนิดนี้ได้มากกว่าที่พบตามธรรมชาติถึงสิบเท่า ดังนั้นแคลลัสได้ถูกเลือกเพื่อใช้ในการศึกษากระบวนการชีวสังเคราะห์ของกรดบรัยโอโนลิก ในการทดลองได้ใช้ส่วนต่างๆจากบวบขม ได้แก่ แคลลัส ใบ และผล ในการสร้างฐานข้อมูลทรานสคริปโตม จากที่กล่าวมาข้างต้น กรดบรัยโอโนลิกเป็นสารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ โดยกระบวนการสำคัญในการสร้างสารกลุ่มนี้คือกระบวนการ cyclization ของ 2,3-oxidosqualene เพื่อสร้างสารตั้งต้นที่เรียกว่า isomultiflorenol โดยใช้เอนไซม์ คือ isomultiflorenol synthase จากการวิเคราะห์เบื้องต้นแคลลัสเป็นส่วนที่มีการผลิตกรดบรัยโอโนลิกที่สูง ดังนั้นยีนที่มีการแสดงออกสูงเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆจะถูกคัดเลือกเพื่อใช้ในการศึกษาต่อไป จากข้อมูลทรานสคริปโตม TcIMS ได้ถูกเลือกนำมาวิเคราะห์ พบว่ายีนชนิดนี้สามารถสร้าง isomultiflorenol ได้ในยีสต์สายพันธ์ Gil77 ดังนั้นยีนชนิดนี้มีหน้าที่เป็น isomultiflorenol synthase เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับยีนที่สามารถทำให้เกิดกระบวนการ oxidation โดยเฉพาะตำแหน่ง C-29 บนโครงสร้างของ isomultiflorenol ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญในการสร้างกรดบรัยโอโนลิก จากข้อมูลทรานสคริปโตม TcCYP2280 ได้ถูกเลือกมากจากแปดยีนที่ผ่านการคัดเลือกขั้นต้นเนื่องจากมีการแสดงออกที่สูงในแคลลัส ซึ่งในการวิเคราะห์และระบุหน้าที่ของยีนพบว่า การมีอยู่ของ TcCYP2280 ร่วมกับ TcIMS ในยีสต์สายพันธ์ WAT11 ได้มีการสร้างกรดบรัยโอโนลิกขึ้น เป็นการยืนยันได้ว่า TcCYP2280 สามารถทำให้เกิดการ oxidation ที่ตำแหน่ง C-29 ของ isomultiflorenol ส่งผลให้เกิดการผลิตกรดบรัยโอโนลิกได้ การค้นพบจากการทดลองนี้จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาการนำไปใช้ของกรดบรัยโอโนลิกรวมทั้งการเพิ่มผลผลิตให้ได้ตามที่ต้องการ และยังสามารถสนับสนุนการศึกษายีนที่มีความสำคัญในการสร้างสารออกฤทธิ์ทางการแพทย์ได้มากมายอีกด้วย |
สาขาการวิจัย |
|