ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรของหมู่บ้าน (OTOP) ให้ได้มาตรฐานเชิงพาณิชย์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง บุญชัย วิจิตรเสถียร
คำสำคัญ การถ่ายทอดเทคโนโลยี;การจัดการสิ่งแวดล้อม;เพื่อยกระดับ;การแปรรูปผลิตภัณฑ์;มาตรฐานเชิงพาณิชย์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ปีที่เผยแพร่ 2564
คำอธิบาย โครงการวิจัย “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรของหมู่บ้าน (OTOP) ให้ได้มาตรฐานเชิงพาณิชย์” ทางผู้วิจัยได้ทําการถ่ายทอดองค์ความรู้ ความเข้าใจ และเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรของหมู่บ้านให้ได้มาตรฐานเชิงพาณิชย์ ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกรจํานวน 2 แห่ง ได้แก่กลุ่มสตรีแปรรูปข้าวเม่าบ้านโคกว่าน อําเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาและกุ้ง บ้านดอนเปล่า จังหวัดนครราชสีมา โดยมีการจัดในรูปแบบของกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน หรือกลุ่มเป้าหมายในการดําเนินกระบวนการมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา สํารวจความต้องการของชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาและปรับปรุงปัญหาสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์การรับรองมาตรฐาน โดยใช้เทคโนโลยีต้นแบบจากงานวิจัย ให้กับกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งจากผลการดําเนินการพบว่าปัญหาหลักที่ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมมีความตระหนักมากที่สุด ได้แก่ เรื่องคุณภาพน้ําที่ใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากนั้น ทางผู้วิจัยจึงได้ทการถ่ายทอดองค์ความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการผลิตน้ําประปาหมู่บ้าน กระบวนการผลิตน้ําสะอาดสําหรับอุปโภคบริโภค และองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพน้ําประปาและน้ําดื่ม ให้กับทางกลุ่มทั้ง 2 ซึ่งผลจากการถ่ายทอดองค์ความรู้พบว่าสมาชิกภายในกลุ่มวิสาหกิจมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 98 ผู้เข้าร่วมการประชุมการมีส่วนร่วมของชุมชน มีความพึงพอใจในระดับดีมาก สําหรับการแก้ไขปัญหาของทางกลุ่มสตรีแปรรูปข้าวเม่าบ้านโคกว่านได้ทําการแนะนําให้มีการตรวจสอบค่าคุณภาพน้ําก่อนการนําน้ํามาแปรรูปเพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และสําหรับการแก้ไขปัญหาของทางกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาและกุ้ง บ้านดอนเปล่า ทางผู้วิจัยได้ทําการติดตั้งเทคโนโลยีในการบําบัดความเค็มในน้ําเพื่อลดการซื้อน้ําในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ซึ่งจากการดําเนินการทั้งหมดทางผู้วิจัยได้ทําการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) และการคํานวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI) ที่เกิดขึ้น จากผลการประเมิน พบว่าอัตราผลตอบแทนสังคมของโครงการ (SROI) ในระหว่างมูลค่ารวมทั้งหมด สําหรับการดําเนินการ 1 ปี เป็น 1.93 เท่า ซึ่งจะเกิดมูลค่ารวมผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น (IMPACT) เท่ากับ 1,175,546.73 บาท จากสัดส่วนปัจจัยและทรัพยากรที่ใช้ในการดําเนินโครงการจํานวน 607,800 บาท เมื่อทําการพิจารณาแยกตามพื้นที่เป้าหมายพบว่าวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาและกุ้ง บ้านดอนเปล่า มีอัตราผลตอบแทนทางสังคมเป็น 2.21 เท่า และกลุ่มสตรีแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเม่ามีอัตราผลตอบแทนทางสังคมเป็น 1.84 เท่า
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง