ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง Hardness and tribological properties of co-electrodeposited Ni-W-B/B coatings
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง นายคมศักดิ์ หารไชย
เจ้าของผลงานร่วม ผศ.นุจิรา โคตรหานาม , ศ.ดร.ยุทธนันท์ บุญยงมณีรัตน์ , Dr.Jiaqian Qin , รศ.ดร.ปาพจน์ เจริญอภิบาล
คำสำคัญ Ni-W-B/B coating;Co-electrodeposition;Bath temperature;Tribological properties
หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
ปีที่เผยแพร่ 2564
คำอธิบาย สารเคลือบผิวแข็ง นิกเกิล ทังเสตน โบรอน และอนุภาคโบรอน (Ni-W-B/ amorphous boron particle) ที่ผลิตด้วยเทคนิคการชุบเคลือบผิวโลหะแบบร่วมเคลือบ (Co-electrodeposition) โดยการแปรผันปัจจัยในการผลิต ประกอบด้วยความเข้มข้นของอนุภาคโบรอน ความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้า และอุณหภูมิของสารชุบเคลือบผิว โครงสร้างจุลภาคที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างโนดูลา (Nodular Structure) บนพื้นผิวของ สารเคลือบผิวแข็ง Ni-W-B/Boron จากการวิเคราะห์ธาตุเชิงพลังงาน (EDS) สามารถเปรียบเทียบปริมาณโบรอนในเชิงคุณภาพในสารประกอบสารเคลือบผิวแข็งที่ผลิตจากอ่างชุบเคลือบผิวที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และ 75 องศาเซลเซียส ความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้าระหว่าง 0.05-0.15 A/cm2 ส่งผลต่อผิวสารเคลือบผิวแข็ง Ni-W-B/Boron ที่ราบเรียบ สม่ำเสมอ และจะเกิดโนดูลขนาดใหญ่ มีลักษณะขรุขระ และเริ่มเป็นร่องแตกขนาดเล็ก เมื่อใช้ความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้า 0.2 A/cm2 ผลของการเข้าร่วมเคลือบของอนุภาคโบรอน ช่วยเพิ่มความแข็งผิว สารเคลือบผิวแข็ง Ni-W-B/Boron ได้สูงที่สุดเท่ากับ 686.5±15.5 HV0.05 ที่ความเข้มข้นอนุภาคโบรอน 5 กรัมต่อลิตร ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 0.2 A/cm2 การอบความร้อน สารเคลือบผิวแข็ง Ni-W-B/Boron ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง สามารถเพิ่มความแข็งผิว จาก 622±18 HV0.05 เป็น 722.3 ±7.6 HV0.05 นอกจากนี้การใช้อุณหภูมิอ่างชุบเคลือบผิว 75องศาเซลเซียส ยังส่งผลให้สัมประสิทธิ์แรงเสียดต่ำและมีความต้านทานการสึกหรอที่ดีขึ้น นอกจากนี้โครงการนี้ได้ประสบความสำเร็จในการทดลองเคลือบสารเคลือบผิวแข็ง Ni-W-B/Boron ร่วมเคลือบกับอนุภาคเพชรขนาดใหญ่ 170/200 Mesh ลงบนใบมีดเกี่ยวข้าว จากการทดสอบเกี่ยวนวดข้าวด้วยใบมีดเกี่ยวข้าวที่เคลือบ สารเคลือบผิวแข็ง Ni-W-B/Boron-Diamond บนพื้นที่เกี่ยวข้าว 200 ไร่ สารเคลือบผิวแข็ง Ni-W-B/Boron-Diamond สมารถป้องกันผิวใบมีดได้ดี ความเสียหาย และการสึกหรอบนใบมีดเกี่ยวข้าวทดลองมีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับใบมีดเกี่ยวข้าวปกติซึ่งมีความเสียหาย แตกหักที่ปลายมุมมีดเกี่ยวข้าว และมีร่องรอยการสึกหรอมากกว่า
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0257897220309828
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง