ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
โครงการวิจัยเรื่อง ระบบข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเบ็ดเสร็จ (สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)) |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล |
คำสำคัญ |
ระบบรายงานคุณภาพอากาศ, DustBoy, PM2.5, PM10, จุดความร้อน, การพยากรณ์ค่าฝุ่น;Air Quality Information Center (AQIC), PM2.5, PM10, Fire Hotspot, Air quality forecasting |
หน่วยงาน |
หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีที่เผยแพร่ |
2564 |
คำอธิบาย |
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบรายงานคุณภาพอากาศสำหรับใช้เป็นศูนย์กลางการรายงานข้อมูลการตรวจวัดจากเครือข่ายเครื่องมือตรวจวัดทั่วประเทศอันนำไปสู่การเฝ้าระวังเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นเพื่อศึกษาและพัฒนาระบบคุณภาพอากาศแบบเบ็ดเสร็จ ที่มีชื่อว่าศูนย์เฝ้าระวังคุณภาพอากาศ (Air Quality Information Center: AQIC) ด้วยการผนวกนำเอาข้อมูลการรายงานคุณภาพอากาศจากเครื่องตรวจวัดหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมควบคุมมลพิษ และเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบต้นทุนต่ำจากโมเดลวิจัยต่าง ๆ เช่น DustBoy AeroSURE และ AirEnvir เป็นต้น มาบูรณาการรายงานร่วมกับสถานการณ์จุดความร้อนอัตโนมัติแบบใกล้เวลาจริงจากดาวเทียม MODIS และ VIIRS ของ NASA ด้วยระบบการให้บริการข้อมูลแผนที่ออนไลน์ (Web Map Service) ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. (GISTDA) และระบบการพยากรณ์คุณภาพอากาศล่วงหน้า ซึ่งคำนวณจากระบบแบบจำลองควบคู่อุตุนิยมวิทยา-เคมี WRF-Chem เพื่อพัฒนาระบบคุณภาพอากาศแบบเบ็ดเสร็จบนแพล็ตฟอร์มเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ซึ่งจากผลการดำเนินโครงการพบว่า ผลลัพธ์ที่ได้สามารถสร้างความเชื่อมโยงของฐานข้อมูลด้านคุณภาพอากาศ จุดความร้อนอัตโนมัติแบบใกล้เวลาจริง และการพัฒนาระบบการพยากรณ์คุณภาพอากาศล่วงหน้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ได้จริง และหากพิจารณาถึงผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการวิจัยนั้น สามารถก่อให้เกิดประโยชน์และต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านฝุ่นควัน การต่อยอดองค์ความรู้และงานวิจัยเพื่อลดปัญหาหมอกควันและคุณภาพอากาศ รวมถึงแนวทางการแก้ไขและป้องกัน สังคมมีความตระหนักรู้ถึงปัญหา ผลกระทบอันเนื่องจากสถานการณ์หมอกควันและมลพิษทางอากาศ เกิดการเฝ้าระวังและเตือนภัยอย่างเหมาะสม |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
https://pm2_5.nrct.go.th/
|
สาขาการวิจัย |
|