ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | เยี่ยมวัวโคลนนิงใน มทส. |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รังสรรค์ พาลพ่าย |
คำสำคัญ | โคลนิง;วัวโคลนิง |
หน่วยงาน | สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
ปีที่เผยแพร่ | 2559 |
คำอธิบาย | การโคลนนิ่งคือการผลิตสัตว์โดยไม่มีการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ เป็นการใช้เซลร่างกายของสัตว์ที่จะโคลนนิ่งเอามาเข้าสู่กระบวนการ เซลที่จะใช้ทำโคลนนิ่งหลักๆ ได้แก่ เซลผิวหนังจากใบหูของสัตว์ หรือเซลกล้ามเนื้อ หรือเซลจากไขมัน เซลอะไรก็ได้ที่นำมาเพาะเลี้ยงแล้วสามารถเจริญแบ่งตัวได้ในห้องทดลอง มทส.ได้ผลิตสัตว์โคลนนิ่งแล้วมีจำนวนมากกว่า 30 ตัว ซึ่งมีทั้งวัวหลากหลายสายพันธุ์ได้แก่ กระทิง แพะ แมว ซึ่งในจำนวนนี้มีวัวโคลนนิ่งที่เลี้ยงอยู่ในมหาวิทยาลัยมทส. จำนวน 3 ตัว วัวตัวนี้ชื่อเศวต เกิดจากการทำโคลนนิ่งโดยใช้เซลใบหูของวัวพันธุ์ขาวลำพูน เพื่ออนุรักษ์วัวพันธุ์นี้ไว้ เนื่องจากวัวที่มีลักษณะดีที่ใช้ในพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตอนนี้หายากมาก ตอนนี้เศวตมีอายุมากกว่า 3 ปีแล้ว วัวที่อยู่ทางซ้ายมือ 2 ตัวเป็นวัวโคลนนิ่งพันธุ์วากิว โดยนำเอาเซลใบหูวัววากิวเพศเมียพันธุ์แท้มาทำโคลนนิ่ง แล้วฝากตัวอ่อน 2 ใบเข้าไปในมดลูกแม่วัวตัวเดียว เกิดเป็นวัวแฝด ประโยชน์ของวัวโคลนนิ่งวากิวคือ ตอนนี้วัววากิวพันธุ์แท้ในบ้านเราหายากมาก เราจึงมีแนวทางเพิ่มจำนวนวัววากิวได้ในจำนวนมากๆ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000074431 |
สาขาการวิจัย |
|
เยี่ยมวัวโคลนนิงใน มทส. is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.