ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนารูปแบบระบบการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านผ่านสื่อ 3 แบบ ด้านทักษะดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | อนุศร หงษ์ขุนทด |
คำสำคัญ | ห้องเรียนกลับด้าน;สื่อความจริงเสมือน;เฟซบุ๊ก;คลิปวิดีโอ;พฤติกรรมการเรียนดนตรี |
หน่วยงาน | โรงเรียนด่านขุนทด 602 หมู่ 2 ต.ด่านขุนทด อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา 30210 |
ปีที่เผยแพร่ | 2558 |
คำอธิบาย | รูปแบบระบบการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านผ่านสื่อ 3 แบบ ด้านทักษะดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา (Flipped Classroom Learning System: FCLS) แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ (Analyze) ประกอบไปด้วยขั้นตอนในการวิเคราะห์ 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) กำหนดเป้าหมาย (Goal) 2) บริบทของผู้เรียน (Learners Context) 3) ความต้องการของผู้เรียน (Learners Needs) 4) บริบทการเรียนรู้ (Learning context) 5) จัดลำดับการเรียนการสอน (Instruction List) 6) กำหนดกรอบความรู้ของผู้สอนในการใช้เทคโนโลยี วิธีการสอนและเนื้อหา (TPACK Framework) ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบ (Design) ประกอบไปด้วยขั้นตอนในการออกแบบ 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1) กลยุทธ์การสอน (Teaching Strategies) 2) วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ (Purpose of Learning) 3) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) 4) การประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment for learning) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประเมินผู้เรียนเป็นรายบุคคลแบบตัวต่อตัว (Assessment Individual) การประเมินผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย (GroupAssessment) ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนา (Development) ประกอบไปด้วยขั้นตอนในการพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1) กลยุทธ์การสอน (Teaching Strategies) 2) สื่อการเรียนการสอน (Media) 3) เครื่องมือการประเมินผล (Assessment Tools) 4) การทดลองใช้สื่อ (Try out) ขั้นตอนที่ 4 การนำไปใช้ (Implementation) แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. กิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน (Classroom) 2. กิจกรรมการเรียนนอกห้องเรียน หรือการบ้าน (Homework) 3. เวลา (Time) ในการให้ความช่วยเหลือ (Scaffolding) ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล (Evaluation) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1) ประเมินผู้เรียนเป็นรายบุคคลแบบตัวต่อตัว หรือประเมินผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย (Assessment of individual learners) 2) ประเมินทักษะการปฏิบัติ (Performance Assessment) 3) ประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของสื่อ (Quality of materials) 4) ประเมินประสิทธิภาพ และคุณภาพโดยรวมของการเรียนการสอนทั้งหมด (Quality of teaching) |
สาขาการวิจัย |
|