- ดร. ชาวี บุษยรัตน์
- 2641 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | เครื่องตรวจจับประจุวัสดุอนุภาคนาโน (Nanoparticle Material Charge Detector) |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ศ.ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช |
คำสำคัญ | ประจุไฟฟ้า;วัสดุอนุภาคนาโน |
หน่วยงาน | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรศาสตร์ มือถือ 087-08303310 |
ปีที่เผยแพร่ | 2558 |
คำอธิบาย | เครื่องตรวจจับประจุวัสดุอนุภาคนาโน (Nanoparticle Material Charge Detector) การทำงานของเครื่องตรวจจับต้นแบบนี้เริ่มต้นโดยการดูดตัวอย่างวัสดุอนุภาคนาโนที่ต้องการวัดผ่านท่อเก็บตัวอย่าง และถูกอัดประจุด้วยชุดให้ประจุไฟฟ้าอนุภาคแบบโคโรนา จากนั้นวัสดุอนุภาคนาโนจะผ่านเข้าไปยังชุดดักจับไอออน เพื่อกำจัดไอออนอิสระที่มีความสามารถในการเคลื่อนตัวทางไฟฟ้าสูงออกก่อน เมื่อออกจากชุดดักจับไอออนแล้ววัสดุอนุภาคนาโนที่มีประจุจะผ่านเข้าไปยังชุดตรวจจับประจุไฟฟ้าอนุภาคเชิงไฟฟ้า เพื่อตรวจวัดระดับประจุไฟฟ้าสถิตของอนุภาค โดยวัสดุอนุภาคนาโนทั้งหมดจะถูกสะสมตัวบนแผ่นตกกระทบด้วยวิธีการตกกระทบเนื่องจากความเฉื่อยและแรงทางไฟฟ้าที่จ่ายให้กับขั้วอิเล็กโทรด ซึ่งแผ่นตกกระทบจะถูกเชื่อมต่อเข้าเครื่องวัดกระแสต่ำอิเล็กโทรมิเตอร์เพื่อการวัดระดับกระแสไฟฟ้า โดยค่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้จะมีความสัมพันธ์กับประจุไฟฟ้าสถิตของวัสดุอนุภาคนาโน และค่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้จากชุดตรวจจับประจุไฟฟ้าอนุภาคเชิงไฟฟ้าจะถูกนำไปประมวลผลข้อมูลด้วยหน่วยประมวลผลข้อมูลภายใน เพื่อแสดงกราฟความเข้มข้นเชิงจำนวนของวัสดุอนุภาคนาโนเครื่องตรวจจับต้นแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถวัดจำนวนความเข้มข้นของวัสดุอนุภาคนาโนได้ในช่วง 7.45 × 108และ 7.45 × 1011 particles/m3 สอดคล้องกับค่ากระแสไฟฟ้าของอนุภาคในช่วง 10 fA ถึง 10 pA ใช้เวลาในการประมวลผลน้อยกว่า 200 ms |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ | ด้านวิชาการ |
สาขาการวิจัย |
|