ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
อิทธิพลของ Zr และ O ที่มีผลต่อการเพิ่มความแข็งแรงของโลหะผสม Ti + ZrH2 และ Ti + ZrO2 ที่ผลิตด้วยกระบวนการสปาร์กพลาสมาซินเทอริง |
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ |
Effect of Zr and O on Solid Solution Strengthen Ability of Ti + ZrH2 and Ti + ZrO2 Powder Alloys Fabricated by Spark Plasma Sintering |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
นายธนภณ ตันสิรานนท์ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ |
Mr. Tanapon Tansiranon |
เจ้าของผลงานร่วม |
Anak KHANTACHAWANA, Katsuyoshi KONDOH, Kazuhiro ISHIKAWA, Yoji MIYAJIMA, Julathep KAJORNCHAIYAKUL |
คำสำคัญ |
การเสริมความแข็งแรงแบบสารละลายของแข็ง/ ปฏิกิริยาการแตกตัว/ ปฏิกิริยาคลายไฮโดรเจน/ โลหะผงวิทยา/ โลหะผสม Ti + ZrH2/ โลหะผสม Ti + ZrO2/ วัสดุทางการแพทย์/ สปาร์กพลาสมาซินเทอริง |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
ปีที่เผยแพร่ |
2565 |
คำอธิบาย |
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการเพิ่มความแข็งแรงแบบสารละลายของแข็งให้กับโลหะผสมไทเทเนียมด้วย SPS โดย Ti + ZrH2 เป็นสารตั้งต้นของสารละลายของแข็ง Ti-Zr ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาการแตกตัวของ ZrH2 และ dehydrogenation ขึ้นใน matrix ของไทเทเนียมด้วยการให้ความร้อน ส่วนโลหะผสม Ti + ZrO2 เป็นสารตั้งต้นของสารละลายของแข็ง Ti-Zr-O ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาการแตกตัวของ ZrO2 ใน matrix ของไทเทเนียม โดยที่ธาตุออกซิเจนจะไม่ถูกกำจัดออกจากชิ้นงานด้วยความร้อน ซึ่งอุณหภูมิที่ใช้ในกระบวนการทางความร้อนนี้ส่งผลให้เกิดโครงสร้างจุลภาค โครงสร้างผลึก และการกระจายตัวของธาตุภายในชิ้นงานที่แตกต่างกัน โดยสุดท้ายสามารถสังเคราะห์สารละลายของแข็งที่มีการกระจายตัวของธาตุที่สม่ำเสมอจากสารตั้งต้นทั้งสองชนิดได้สำเร็จ จากนั้นจึงนำไปทดสอบสมบัติทางกลพบว่าความสามารถในการเสริมความแข็งแรงแบบสารละลายของแข็งของ ZrH2 และ ZrO2 ให้กับโลหะผสม Ti + ZrH2 และ Ti + ZrO2 มีค่าเท่ากับ 5.28 HV ต่อ 1 wt.% ZrH2 และ 79 HV ต่อ 1 wt.% ZrO2 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับชิ้นงานหลอมพบว่าชิ้นงานหลอมมีขนาดเกรนที่ใหญ่และมีปริมาณความบริสุทธิ์ที่สูงกว่าชิ้นงาน SPS จึงทำให้ชิ้นงาน SPS มีค่าความแข็งแรงที่มากกว่า อีกทั้งยังพบว่าการควบคุม texture ยังสามารถช่วยเพิ่มความเหนียวให้กับโครงสร้าง polycrystalline HCP-Ti |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
https://opac.lib.kmutt.ac.th/vufind/Record/1381410/Holdings#tabnav
|
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ |
ด้านวิชาการ |
สาขาการวิจัย |
-
วิศวกรรมและเทคโนโลยี
-
วิศวกรรมโลหะและวัสดุ
|