ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ระบบเครือข่ายข้อมูลจราจรแบบเวลาจริงและการจัดการการจราจรด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ดร.เทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ
คำสำคัญ ระบบเครือข่าย;จราจร;ระบบปัญญาประดิษฐ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย ระบบจราจรในปัจจุบันนี้ยังมีความจำกัดเนื่องจากระบบปัจจุบันยังต้องใช้มนุษย์ตัดสินใจจึงได้เกิดระบบริทึม เป็นการทำงานกับระบบGPS โดยอาศัยดาวเทียมที่อยู่ทั่วโลกประมาณ 18 ดวงที่จะทำการติดตั้ง GPS บอกตำแหน่งของยานพาหนะที่ติดตั้งบนรถยนต์ทุกคันซึ่งรับสัญญาณจากดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวงเพื่อระบุตำแหน่งพิกัดของรถยนต์ที่เราติดตั้งระบบ GPS ขณะนั้นเมื่อเครื่อง GPSวิเคราะห์ตำแหน่งระบบ GPS เดิมมีความแม่นยำอยู่ที่บวกลบ 15 เมตร เมื่อทำการติดตั้งเสาทวนสัญญาณดาวเทียมจะทำให้ความแม่นยำเพิ่มขึ้นอยู่ที่บวกลบ 3 เมตร ซึ่งมีความแม่นยำเพียงพอในการที่ระบุตำแหน่งได้ทุกต้องและแม่นยำเมื่อติดตั้งระบบGPS ทุกคันและระบบจะทำการส่งพิกัดของรถยนต์และความเร็ว ทิศทางผ่านทางระบบใช้สายไปยังเซิฟเวอร์ ซึ่งอยู่ที่ศูนย์การจัดการจราจรกลางทางปฎิบัติเขาจะกระจายโหลดไปยังเซิฟเวอร์ย่อยเพื่อทำการกระจายโหลดและประมวลผล ณ พื้นที่นั้นก่อนส่งไปยังเซิฟเวอร์กลางเพื่อประเมินผลอีกครั้งหน่งเมื่อเซิฟเวอร์ได้รับสัญญาณของรถทุกคันในกทม. เครื่องเซิฟเวอร์ทำการคำนวณความหนาแน่นของรถในแต่ละเส้นทางเพื่อคำนวณเวลาปิดเปิดสัญญาณไฟจราจรที่เหมาะสมที่สุด การนำข้อมูลข่าวสารรถยนต์มาประยุกต์ใช้ในการควบคุมไฟจราจรอย่างมีประสิทธิภาพจะได้โปรแกรม RITM โปรแกรมการจัดการจราจรด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์แบบเวลาจริงหรือริทึมมีรูปแบบวิธีการควบคุมสัญญาณไฟจราจรด้วยกัน 3 แบบ
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=G_q7ajEONxc
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านวิชาการ
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี
  • วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้ดาวเทียม
Creative Commons License

ระบบเครือข่ายข้อมูลจราจรแบบเวลาจริงและการจัดการการจราจรด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.

วิดีโอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง