ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์หัตถกรรม จากภูมิปัญญาฝ้ายท้องถิ่นภาคเหนือด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน |
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ |
Research for the Value of Cotton Handicraft Products Local Wisdom with Local Communities Cultural Capital of Northern Thailand. |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
ปณิธาน ประมูล |
เจ้าของผลงานร่วม |
จารุวรรณ โปษยานนท์ ,
นริศ ศรีสว่าง ,
ปริญญา ทวีจันทร์ ,
อัษฎากรณ์ ฉัตรานันท์ ,
ชนาพร จันทาพูน ,
ภัณฑิรา ตันบุตร |
คำสำคัญ |
ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม;ภูมิปัญญา;ฝ้ายท้องถิ่น;ภาคเหนือ;วัฒนธรรมชุมชน |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยพะเยา |
ปีที่เผยแพร่ |
2565 |
คำอธิบาย |
ภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากฝ้ายซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นและสามารถที่เติบโตได้ดีในพื้นที่ภาคเหนือ มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น ภูมิปัญญาการปลูกและแปรรูปฝ้ายท้องถิ่นมีความสำคัญต่อภาคการผลิตสินค้าหัตถกรรม ฝ้ายเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศไทยโดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนที่ใช้ฝ้ายเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเส้นใยฝ้าย และยังเป็นวัตถุดิบพื้นฐานที่ใช้ในงานหัตถกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาเกี่ยวกับฝ้ายที่มีมาแต่ดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และของใช้ในวิถีชีวิตเนื่องจากเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญ
ฝ้ายเป็นพืชที่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปเริ่มตั้งแต่การปลูกฝ้าย ปั่นฝ้าย ย้อมสีธรรมชาติ และทอเป็นผืนผ้า การแปรรูปฝ้ายท้องถิ่นสามารถแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เป็นทุนทางวัฒนธรรมชุมชนที่บรรพบุรุษได้สั่งสมสืบทอดมาถึงปัจจุบัน เป็นอัตลักษณ์ที่มีอยู่ในทุกชุมชนอยู่ในวิถีชีวิต เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่น โดยชุมชนนำองค์ความรู้จากทุนทางวัฒนธรรมชุมชนไปใช้ในการสร้างสรรค์พัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมหรือบริการที่มีคุณภาพ ตามความเหมาะสมของแต่ละชุมชน โดยมีพื้นฐานจากทุนทางวัฒนธรรมชุมชนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของทุนทางสังคม และเป็นจุดแข็งที่สามารถเชื่อมโยงทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถขับเคลื่อนการเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขของชุมชน
ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการวิจัยเพื่อการฟื้นฟูภูมิปัญญาการผลิตหัตถกรรมจากฝ้ายท้องถิ่นในพื้นที่ชุมชนภาคเหนือตอนบนตลอดห่วงโซ่การผลิต เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้านการผลิตหัตถกรรมจากฝ้ายท้องถิ่นในพื้นที่ชุมชนพื้นที่ภาคเหนือตอนบนส่งเสริมการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตหัตถกรรมจากฝ้ายท้องถิ่นในพื้นที่ชุมชนภาคเหนือตอนบนด้วยวัฒนธรรมสร้างสรรค์และสร้างงานและสร้างอาชีพจากทุนทางวัฒนธรรมชุมชนให้สามารถรองรับแรงงานที่กลับสู่ท้องถิ่น และรองรับการท่องเที่ยวชุมชน กิจกรรมวิจัยครั้งนี้จะเป็นการช่วยสานต่อลมหายใจของมรดกวัฒนธรรมและภูมิปัญญาฝ้ายท้องถิ่น อันเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมายาวนานและทรงคุณค่า สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ให้มีเสน่ห์ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค นำไปสู่การสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจแก่ชุมชน และสร้างความสุขแก่ผู้คนในท้องถิ่น อีกทั้งเป็นมิตรกับธรรมชาติ และสร้างความอยู่ดีมีสุขแก่ชุมชนท้องถิ่นและเครือข่ายต่อไป |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ |
ด้านสังคม/ชุมชน |
สาขาการวิจัย |
-
เกษตรศาสตร์
-
เทคโนโลยีชีวภาพทางด้านการเกษตร
|