ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดการซัพพลายเชน |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ดร.วิวรรธน์ กฤษฎาสิมะ |
คำสำคัญ | การจัดการซัพพลายเชน;โลจิสติกส์ |
หน่วยงาน | บจก. ยูนิลีเวอร์ ไทย เซอร์วิสส์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2559 |
คำอธิบาย | การจัดการซัพพลายเชนที่ดีควรเริ่มต้นด้วยเรื่องของคน (Human ware) เพราะแต่ละคนมีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน ถ้าบุคลากรที่มีอยู่ไม่มีศักยภาพในการทำงานที่เพียงพอ ย่อมทำให้งานไม่สามารถสำเร็จลุ่งล่วงไปได้ด้วยดีได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาบุคลลากรให้มีประสิทธิภาพและมีความรู้เพียงพอ เพื่อที่จะสามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการพัฒนาบุคลลากรนี้ สามารถทำได้ทุกระดับของพนักงาน ตั้งแต่พนักงานในโรงงานที่ไม่มีทักษะอะไรเลย ไปจนถึงระดับผู้อำนวยการ เพื่อที่ทุกคนสามารถนำทักษะมาใช้ในการทำงาน และยังสามารถปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง องค์กร และระบบซัพพลายเชน ไปได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย อีกเรื่องที่สำคัญคือ เรื่องการมีแนวคิด (mindset) เดียวกัน เพราะซัพพลายเชนหมายรวมถึง ทุกแผนกและองค์กรภายใต้หนึ่งห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน ทุกห่วงโซ่จึงควรมีแนวคิด (mindset) เดียวกัน อย่างการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ควรจะต้องทราบว่า ลูกค้าคิดและต้องการอะไร นั่นคือ มีแนวคิด (mindset) เดียวกับลูกค้า แล้วจึงมองย้อนกลับมา เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาบุคลากรในห่วงโซ่อื่นๆ ให้คิดเหมือนกัน เพื่อที่จะตอบสนองลูกค้าไปในทางเดียวกัน ดังนั้น เรื่องทักษะ การมีแนวคิดเดียวกัน และเรื่องการจัดองค์กรให้เป็น one supply chain (หนึ่งห่วงโซ่อุปทาน) ถือเป็นพื้นฐานแรกของการจัดการซัพพลายเชนที่ี่ดี |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ | ด้านวิชาการ |
สาขาการวิจัย |
|
การจัดการซัพพลายเชน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.