- จันจิรา อายะวงศ์
- 611 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาสาหร่ายสไปรูลิน่าเพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นชีวผลิตภัณฑ์ตามกรอบแนวคิดครบวงจร: ไฟโคไซยานินและเซลล์ที่เหลือทิ้ง |
---|---|
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ | Development of Spirulina biorefinery concepts for valuable bioproducts : phycocyanin and waste cell residues |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ดร.วนิดา ปานอุทัย |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ | Dr. Wanida Pan-utai |
เจ้าของผลงานร่วม | รศ.ดร.ศิริลักษณ์ เอี่ยมธรรม , รศ.ดร.สุนีรัตน์ เรืองสมบูรณ์ , ผศ.ดร.เสริมศิริ จันทร์เปรม , ดร.สิตานัน ธิติประเสริฐ |
คำสำคัญ | สาหร่ายสไปรูลิน่า;เซลล์สไปรูลิน่าเหลือทิ้ง;ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ;ไฟโคไซยานิน;เห็ดถั่งเช่าสีทอง;กรดแลคติก |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2565 |
คำอธิบาย | ไฟโคไซยานิน (C-phycocyanin, C-PC) สารสีฟ้าที่ละลายน้ำได้ สามารถสกัดได้จากสาหร่ายสไปรูลิน่าซึ่งเป็นสาหร่ายขนาดเล็ก การพัฒนาไฟโคไซยานินนาโนแคปซูลเอนแคปซูเลชั่นโดยใช้การทำแห้งแบบพ่นฝอยขนาดเล็ก โดยทำการแปรผันชนิดและสัดส่วนของวัสดุห่อหุ้ม การใช้สภาวะที่ประกอบด้วยวัสดุห่อหุ้มทั้งมอลโตเด็กซ์ตริน กัมอารามบิก และเวย์โปรตีนไอโซเลทที่สัดส่วนเท่ากันเป็นสภาวะที่เหมาะสม ส่งผลให้มีค่าประสิทธิภาพในการห่อหุ้ม 100% และสามารถปลดปล่อยไฟโคไซยานินภายใต้สภาวะจำลองระบบการย่อยได้สูงสุดที่เวลา 240 นาที นอกจากนี้เซลล์สาหร่ายสไปรูลิน่าที่เหลือจากการสกัดไฟโคไซยานินใช้เป็นแหล่งอาหารเสริมในการเพาะเลี้ยง Cordyceps militaris เพื่อทดแทนการใช้ไหมอีริในเชิงพาณิชย์และผลิตสารสำคัญได้ปริมาณสูง รวมทั้งเพิ่มความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยการใช้เซลล์สาหร่ายสไปรูลิน่าที่เหลือปริมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ สามารถผลิตสารสำคัญคอร์ไดเซปินได้สูงสุด 3,287.27 มก.ต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง และรองลงมาเป็นสูตรที่ใช้กากชีวมวลสาหร่ายอบแห้ง 2.5 เปอร์เซ็นต์ ได้คอร์ไดเซปิน 3,223.67 มก.ต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง เมื่อเปรียบเทียบกับสูตรอาหารเปิดดอกที่ใช้ดักแด้ไหมอีรี่ 50 กรัมต่อลิตร ได้คอร์ไดเซปิน 1,490.71 มก.ต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง จากการศึกษาศักยภาพของเซลล์สาหร่ายสไปรูลิน่าที่เหลือทิ้งเพื่อเป็นแหล่งอาหารสำหรับการหมักกรดแลคติก พบว่ามีการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ Bacillus coagulans เพิ่มขึ้นภายในระยะเวลาการเพาะเลี้ยง มีค่าอยู่ในช่วง 7.6 – 9.5 log CFU/ml แต่ยังมีการผลิตกรดแลคติกต่ำ โดยมีค่ากรดแลคติก 27 กรัมต่อลิตร เมื่อใช้สาหร่ายสไปรูลิน่าเหลือทิ้ง 20 กรัมต่อลิตร จึงไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรมการผลิตกรดแลคติกได้ ซึ่งเกิดจากการใช้สาหร่ายสไปรูลิน่าเหลือทิ้งหรือการเตรียมสาหร่ายสไปรูลิน่าเหลือทิ้งก่อนการหมัก รวมทั้งการคัดเลือกสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามเซลล์สาหร่ายสไปรูลิน่าที่เหลือจากกระบวนการสกัดไฟโคไซยานินสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นส่วนประกอบหรือสารสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มได้ดังเช่น การใช้เป็นอาหารเสริมในการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่า ซึ่งยังเป็นไปตามแนวคิดขยะเหลือศูนย์หรือ zero-waste |
ข้อมูลเพิ่มเติม | https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2589014X21002711?via%3Dihub, https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fenrg.2022.878597/full |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ | ด้านวิชาการ |
สาขาการวิจัย |
|
การพัฒนาสาหร่ายสไปรูลิน่าเพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นชีวผลิตภัณฑ์ตามกรอบแนวคิดครบวงจร: ไฟโคไซยานินและเซลล์ที่เหลือทิ้ง is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 3.0 Thailand License.