ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | เสน่ห์เมืองเพชร : การถ่ายทอดนวัตกรรม Storytelling และเทคโนโลยีสื่อ Application ให้กับคนรุ่นใหม่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบ Self-Drive ในยุควิถีใหม่ |
---|---|
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ | Charming and Attractiveness of Phetchaburi Province, Transferring of Storytelling Innovation, and Utilizing of Media Technology Based on Mobile Phone and Website Application for New Age Generation toward Self-Driving Tourism in New Normal Lif |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ศาสตราจารย์ ดร.นรินทร์ สังข์รักษา |
เจ้าของผลงานร่วม | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวรรยา ธรรมอภิพล , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดาราวรรณ ญาณะนันท์ , อาจารย์ ดร. เอื้อมพร โตภาณุรักษ์กุล , อาจารย์ ดร.อัจฉราวรรณ เพ็ญวันศุกร์ , นายปภังกร จรรยงค์ , นางสาวรมยกรณ์ เอราวัณ |
คำสำคัญ | เสน่ห์เมืองเพชร;เรื่องเล่า และแอพพลิเคชั่น;การท่องเที่ยวแบบขับรถเที่ยวด้วยตนเอง |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
ปีที่เผยแพร่ | 2565 |
คำอธิบาย | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวข้องกับอาหารพื้นถิ่น ศิลปะสกุลช่าง ศิลปะการแสดง และผ้าพื้นบ้านในแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรี และ 2) ถ่ายทอดความรู้นวัตกรรมนักเล่าเรื่องและเทคโนโลยีสื่อ Application ด้านอาหารพื้นถิ่น ศิลปะสกุลช่าง ศิลปะการแสดง และผ้าพื้นบ้านในจังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน ผู้อบรม 200 คน และนักท่องเที่ยว 15 คน รวม 255 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง เครืองมือ ได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต หลักสูตรและคู่มือการอบรม แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม แบบสอบถามความพึงพอใจ การสะท้อนการเรียนรู้และการถอดบทเรียนแบบ AAR การวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยโปรแกรมสถิติคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) การรวบรวมองค์ความรู้ เพื่อขับเคลื่อนการสร้างเสน่ห์เมืองเพชร ประกอบด้วยอาหารพื้นถิ่นจากตาลโตนดที่เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของขนมหวานเมืองเพชร ศิลปะสกุลช่างมีการสืบสานอัตลักษณ์ที่โดดเด่นทางศิลปกรรมจากรุ่นสู่รุ่น ศิลปะการแสดงมีการสืบสานและรื้อฟื้นเพื่อให้คงอยู่ และเสริมสร้างการท่องเที่ยว ผ้าพื้นบ้านที่มีอัตลักษณ์บ่งบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์และเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ เพชรบุรีจึงถือเป็นเมืองเก่าที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ได้ชื่อว่า “เป็นอยุธยาที่มีชีวิต” 2) การถ่ายทอดความรู้นวัตกรรมนักเล่าเรื่องและแอพพลิเคชั่น โดยจัดทำหลักสูตรและคู่มือ อบรม 5 รุ่น จำนวน 200 คน กลุ่มทดลองมีคะแนนก่อนและหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำแอพพลิเคชั่น และเส้นทางการท่องเที่ยวแบบขับรถเที่ยวด้วยตนเอง 3 ระยะ คือ ระยะสั้น (Short Journey) City Tour วัด วัง 1 วัน ระยะกลาง (Middle Journey) Romantic Road 2 วัน 1 คืน และระยะยาว (Long Journey) Natural Road 2 วัน 2 คืนขึ้นไป และทดสอบและประเมินผลเส้นทาง นักท่องเที่ยวพึงพอใจอยู่ในระดับมาก แนวทางการสร้างเสน่ห์เมืองเพชร ใช้หลัก 9 A's และสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม ผลการสะท้อนการเรียนรู้และถอดบทเรียนมีการถ่ายทอดความรู้ ได้ประะสบการณ์ทำจริง มีการทำงานเป็นทีม กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ การนำไปใช้ในกิจกรรม และการประยุกต์ใช้ในการท่องเที่ยวแบบขับรถเที่ยวด้วยตนเอง |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ | ด้านสังคม/ชุมชน |
สาขาการวิจัย |
|
เสน่ห์เมืองเพชร : การถ่ายทอดนวัตกรรม Storytelling และเทคโนโลยีสื่อ Application ให้กับคนรุ่นใหม่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบ Self-Drive ในยุควิถีใหม่ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.