ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การสกัดน้ำมันและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากกากงาที่ผ่านกระบวนการบีบอัดแบบสกรูด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่สภาวะสูงกว่าจุดวิกฤต |
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ |
Supercritical CO2 Extraction of Oil and Bioactive Compounds from Pressed Sesame Seed Cake |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
กฤติกา บูรณโชคไพศาล |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ |
Kritika Buranachokpaisan |
คำสำคัญ |
กากงา;การสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่สภาวะสูงกว่าจุดวิกฤต;เซซามิน;การขยายขนาดการผลิต;การห่อหุ้มน้ำมัน;การดูดซับสารฟีนอล;แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
ปีที่เผยแพร่ |
2565 |
คำอธิบาย |
กากงาที่ผ่านกระบวนการบีบอัดแบบสกรูจากโรงงานผลิตน้ำมันงา มีน้ำมันและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น เซซามิน เซซาโมลิน และโทโคเฟอรอล หลงเหลืออยู่ในปริมาณสูง เทคนิคการสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ที่สภาวะสูงกว่าจุดวิกฤตทำให้ได้น้ำมันที่มีคุณภาพเทียบเท่าน้ำมันงาบริโภค โดยการขยายขนาดการผลิตมีความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ การห่อหุ้มน้ำมันด้วยวิธีการตกตะกอนด้วยสารเคมีโดยใช้เวย์โปรตีนไอโซเลทกับกัมอะราบิกเป็นสารห่อหุ้ม และทำแห้งด้วยเครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง ทำให้ได้น้ำมันในรูปแบบผงเอนแคปซูเลทที่มีประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำมันและสารสำคัญใกล้เคียงกับสารห่อหุ้มเชิงการค้า นอกจากนี้กากที่เหลือจากการสกัดยังมีความสามารถในการดูดซับสารฟีนอลในสารละลายได้อีกด้วย |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
https://doi.org/10.1111/jfpp.15722
|
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ |
ด้านพาณิชย์ |
สาขาการวิจัย |
-
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
-
อื่นๆ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
|