ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาและยกระดับเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เกลือทะเลไทยสู่การยอมรับเชิงพาณิชย์ |
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ |
Product development and value added aligning with market acceptant and leading to commercial production of Thai sea salt. |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
โสภาพร กล่ำสกุล |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ |
Sopaporn Klamsakul |
เจ้าของผลงานร่วม |
กฤตชน วงศ์รัตน์ ,
วิวิศณ์ สุขแสงอร่าม ,
คงขวัญ ศรีสอาด ,
จุฑามาศ ทะแกล้วพันธุ์ ,
นวรัตน์ ประทุมตา ,
ประภัสสร นิ่มพินิจ ,
ประทุมมา เที่ยงธรรม |
คำสำคัญ |
เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์;เกลือทะเลไทย;เชิงพาณิชย์ |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี |
ปีที่เผยแพร่ |
2566 |
คำอธิบาย |
ศักยภาพการผลิตเกลือทะเลในกลุ่มเพชรสมุทรคีรีจะมีคุณภาพและมีปริมาณมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติการท่านาเกลือระอยู่ระหว่างช่วงเดือนตุลาคม-พฤษภาคม โดยเริ่มการ
เตรียมพื้นที่โดยพื้นดินที่เคยท่านาเกลือมาแล้วย่อมมีการปรับสภาพตามธรรมชาติ สามารถให้ผลผลิต
เกลือทะเลที่มีคุณภาพดีกว่าพื้นที่นาใหม่ ๆ เกลือทะเลจะได้แร่ธาตุที่สะสมอยู่ในดิน และดินจะเก็บ
สะสมความร้อนท่าให้เกลือทะเลตกผลึกเร็ว ปัจจัยส่าคัญอีกประการในการท่านาเกลือ คือน้่าทะเล น้่า
ทะเลที่ดีจะต้องไม่มีสารปนเปื้อนหรือเศษผงตะกอนอยู่ในน้ำ ดังนั้นชาวนาเกลือทะเลจึงต้องหมั่น
รักษาสภาพคลองน้่าเค็มที่อยู่ใกล้พื้นที่ของตนเองให้สะอาด เพราะจะส่งผลให้ผลึกเกลือที่แช่อยู่ใต้น้ำ
ในอันนา มีคุณภาพดีทั้งรสชาติและแร่ธาตุทางอาหาร รวมทั้งความแรงของลมทะเลที่พัดเข้าหาฝั่ง
ตลอดฤดูการท่านาเกลือทะเล จะช่วยให้ผิวน้ำที่ แช่ขังในอันนาเป็นระลอกคลื่น เกิดระบบการ
เคลื่อนที่ของน้ำ เสมือนกวนน้ำให้มีความเข้มข้นเท่า ๆ กัน ทั้งอันนา ซึ่งเป็นการช่วยเร่งความเข้มข้น
ของน้่าให้เกิดการตกผลึกเร็วขึ้นและสม่่าเสมอน้่าที่เข้มเมือลมพัดจะพลิ้วไหวน้อย ความเข้มของ
แสงแดดที่จัดสม่ำเสมอจะช่วยให้การระเหยของผิวน้ำในอันนาและน้ำในอันนามีความร้อนในระดับที่
พอเหมาะกับความเค็มจัด ท่าให้เกิดการตกผลึกเกลือได้ปริมาณมาก ดังนั้นเกลือทะเลจึงได้รับการ
ยอมรับว่าเป็นเกลือธรรมชาติที่ดีที่สุด มีคุณภาพ และอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ได้จากธาตุทั้ง 4 คือ ดิน (ดินนา) น้ำ (น้ำทะเล) ลม (ลมทะเล) ไฟ (แสงแดด) อย่างครบถ้วน
|
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ |
ด้านพาณิชย์ |
สาขาการวิจัย |
|