- บ้านน้ำทรัพย์ หมู่ 9 ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
- 1508 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปน้ำมันอะโวคาโดมูลค่าสูงสู่กลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนผลิตผลและผลิตภัณฑ์อะโวคาโดแบบครบวงจร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา |
---|---|
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ | Product development and Transfer of high-value avocado oil processing technology to Small and Micro Community Enterprise “Comprehensive avocado and avocado products”, Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | ขวัญหทัย ทนงจิตร |
คำสำคัญ | ผลิตภัณฑ์อะโวคาโด;น้ำมันอะโวคาโด;อะโวคาโด |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2566 |
คำอธิบาย | อำเภอปากช่อง เป็นอำเภอหนึ่งที่มีพื้นที่ในการปลูกอะโวคาโดจำนวนมากเพราะมีทรัพยากรที่เหมาะสมในการปลูกอะโวคาโดให้มีคุณภาพ และมีความได้เปรียบทางด้านระยะทางใกล้จากกรุงเทพมหานครที่เป็นศูนย์กลางในการค้าขายทำให้สามารถช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง ปัญหาสำคัญของอะโวคาโดในอำเภอปากช่องคือไม่สามารถควบคุมคุณภาพผลผลิต เนื่องจากเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการคัดเลือกพันธุ์อะโวคาโด เทคโนโลยีการปลูก การป้องกันโรคและแมลง ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปอะโวคาโด สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่ ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เป็นรวบรวบพันธุ์อะโวคาโด มีบุคลากรที่มีความรู้ด้านงานวิจัยอะโวคาโด ในเรื่องของพันธุ์ เทคโนโลยีการปลูก การป้องกันโรคและแมลง ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปอะโวคาโด ซึ่งพร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กลับชุมชนนำไปใช้ประโยชน์ สถานีวิจัยปากช่องได้ช่วยเริ่มก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตผล ผลิตภัณฑ์อะโวคาโดแบบครบวงจรอำเภอปากช่อง และสร้างแปลงอะโวคาโดต้นแบบในนาม “ออลโวคาโดแลนด์” ในแปลงเกษตรกรเป็นแปลงที่ปลูกอะโวคาโดพันธุ์การค้า ตามคำแนะนำของสถานีวิจัยปากช่อง และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนทั้งหมดในเขตอำเภอปากช่อง ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องพันธุ์ วิธีการปลูก การดูแลรักษา และการแปรรูป แบบครบวงจร เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำมันอะโวคาโด เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าที่มีมาตราฐานอาหารและยา สินค้า OTOP ของอำเภอปากช่อง โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อไปแก้ปัญหาระยะยาวให้กับเกษตรกร การสร้างความต่อเนื่องให้เกิดขึ้นกับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยนำปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนส่วนใหญ่ที่ยังขาดความรู้ในเรื่องวิธีการปลูก ปฏิบัติดูแลรักษาอะโวคาโด ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว คุณภาพของผล การตลาด และการปลูกอะโวคาโดจากเมล็ดที่เป็นสาเหตุหลักที่ไม่สามารถควบคุณคุณภาพผลผลิต แต่ผลิตที่ไม่ได้คุณภาพนั้นสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำมันอะโวคาโดที่มีมูลค่าสูงได้ และการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนคือการสร้างโมเดลออลโวคาโดแลนด์เป็นแปลงตัวอย่างในชุมชนเพื่อเป็นที่ตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดองค์ความรู้การสกัดน้ำมัน การสร้างผลิตภัณฑ์จากอะโวคาโดแบบครบวงจร สู่ชุมชนในเขตอำเภอปากช่อง เป็นศูนย์รวมจำหน่ายผลิตภัณฑ์อะโวคาโด และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่เขตอำเภอปากช่องอย่างยั่งยืน |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ | ด้านพาณิชย์ |
สาขาการวิจัย |
|