ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การวิจัยและส่งเสริมการควบคุมโรคและแมลงศัตรูผักโดยชีววิธีเพื่อผลิตพืชผักปลอดภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ผศ.ดร. ยุวดี ชูประภาวรรณ
คำสำคัญ Sclerotium rolfsii;Ralstonia solanacearum;ควบคุมโรคและแมลงศัตรูผัก;ชีววิธี;Beauveria;Paecilomyces;Metarhizium;Eocanthecona furcellata;Mallada basalis
หน่วยงาน ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย การทดสอบประสิทธิภาพเชื้อแบคทีเรีย 929 ไอโซเลทต่อการยับยั้งเชื้อรา Sclerotium rolfsii และเชื้อ Ralstonia solanacearum ในห้องปฏิบัติการ พบว่า Bacillus megaterium BR1-2 และ B. megaterium YT1-4 ยับยั้งเชื้อ S. rolfsii ได้สูงสุดคือ 94.75 และ 90.75 % ตามลำดับ และทดสอบประสิทธิภาพเชื้อราในดินจำนวน 300 ไอโซเลท ต่อการเข้าทำลายแมลงวันผลไม้ของพริกในระยะดักแด้ในสภาพห้องปฏิบัติการ พบไอโซเลท Beauveria UB3-1, Paecilomyces YT15-6 และ Metarhizium YT1-5 ทำให้ดักแด้ตายมากที่สุดคือ 76.25% พร้อมกับทำการทดสอบการควบคุมศัตรูผักโดยชีววิธี กับพืช 4 ชนิด ได้แก่ คะน้า ผักกาดหัว กะหล่ำปลี และแตงกวา ศัตรูธรรมชาติที่ใช้ทดสอบได้แก่ B. thruringenesis, ไวรัส NPV, Metarhizium anisopliae, Beauveria bassiana, Trichoderma harzianum มวนตัวห้ำ Eocanthecona furcellata และแมลงช้างปีกใส Mallada basalis ร่วมกับกับดักกาวเหนียว ผลการทดสอบในพืชตระกูลกะหล่ำ พบว่าลดความหนาแน่นหนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก และเพลี้ยอ่อน ต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถควบคุมด้วงหมัดผักได้ เกษตรกรมีกำไรสุทธิจากการขายผักคะน้า ผักกาดหัว และกะหล่ำปลี อยู่ระหว่าง 14,609-45,989 บาท/ไร่ ตามลำดับ ในแตงกวาการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีลดความหนาแน่นหนอนกินใบแตง และเพลี้ยไฟได้ต่ำกว่าระดับเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถควบคุมด้วงเต่าแตง และเพลี้ยอ่อนได้ เกษตรกรมีรายได้สุทธิจากการขายผลผลิตคือ 28,235 บาท/ไร่
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การวิจัยและส่งเสริมการควบคุมโรคและแมลงศัตรูผักโดยชีววิธีเพื่อผลิตพืชผักปลอดภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง