ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง การถ่ายทอดองค์ความรู้ : การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและเพิ่มรายได้ ของเศรษฐกิจฐานราก
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ Knowledge Transfer: Increasing Native Chicken Production Efficacy of Farmers in Tum Yai Subdistrict, Khu Mueang District, Buriram Province as for Food Security and Increase in Income of Local Economy
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สมคุณา
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ Associate Professor Dr. Narumon Somkuna
เจ้าของผลงานร่วม ดร.เอกสิทธิ์ สมคุณา , ดร.กันตพัฒน์ รัตนสินธุพงศ์
คำสำคัญ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง;การผลิตไก่พื้นเมือง;ความมั่นคงทางอาหาร;การเพิ่มรายได้;เศรษฐกิจฐานราก;Sufficiency economy philosophy;native chicken production;food security;income increasing;local economy
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ปีที่เผยแพร่ 2567
คำอธิบาย การดำเนินกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่พื้นเมือง ของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและเพิ่มรายได้ของเศรษฐกิจฐานราก มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่พื้นเมืองให้แก่เกษตรกร นักศึกษา นักเรียน และผู้นำชุมชน ในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ส่งเสริมเกษตรกรในชุมชนให้สามารถใช้อาชีพการผลิตไก่พื้นเมืองเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาชุมชนต้นแบบการผลิตไก่พื้นเมืองเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในสร้างรายได้และการพึ่งพาตนเองจากการผลิตไก่พื้นเมืองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขยายผลองค์ความรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างรายได้ไปยังหน่วยงานราชการ และเกษตรกรในพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ดำเนินกิจกรรมได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการผลิตไก่พื้นเมืองเพื่อสร้างรายได้ ในพื้นที่เป้าหมาย 5 เรื่อง มีเกษตรกรที่เข้ากิจกรรมการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้ง 5 เรื่อง จำนวน 271 คน เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ทั้ง 19 หมู่บ้าน จำนวน 210 คน ผู้นำชุมชนของแต่ละหมู่บ้าน ปลัดและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ จำนวน 4 คน นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 19 คน เกษตรกรกลุ่มขยายผล ฯ จำนวน 38 คน มีการส่งเสริมการขยายผลการนำองค์ความรู้สู่การปฏิบัติโดยส่งเสริมเกษตรกรในชุมชนเป้าหมายในตำบลตูมใหญ่ ที่ได้คัดเลือกจำนวน 3 ชุมชน คือ ชุมชนบ้านปะคำดง ชุมชนปะคำสำโรง และชุมชนบ้านหนองไผ่ดงให้สามารถใช้อาชีพการผลิตไก่พื้นเมืองเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้เกษตรกรขยายพันธุ์ไก่พื้นเมืองพันธุ์เหลืองหางขาวซึ่งมีลักษณะหน้าแข้งเหลืองตามที่ตลาดต้องการมีจำนวนเกษตรกรที่นำความรู้ไปปฏิบัติได้ถูกต้อง จำนวน 30 ราย ได้ชุมชนต้นแบบจำนวน 1 ชุมชน คือ ชุมชนบ้านปะคำดง ตำบลตูมใหญ่ ที่สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการไปเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก่พื้นเมืองในสร้างรายได้และการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีการวัดและประเมินผลการนำความรู้สู่การปฏิบัติในชุมชน พบว่า มูลค่าการซื้อขายไก่พื้นเมืองของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 ต้นทุนการผลิตไก่พื้นเมืองลดลงร้อยละ 10 มีจำนวนเกษตรกรต้นแบบ ที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตไก่พื้นเมือง จำนวน 10 ราย ความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อความมั่นคงทางอาหารและสร้างรายได้ของเศรษฐกิจฐานราก โดยรายได้ที่เกิดขึ้นจากการจำหน่ายเป็นไก่พื้นเมืองมีชีวิต และชำแหละเป็นไก่สดแปรรูป รวมไปถึงการจำหน่ายพ่อ-แม่พันธุ์ ลูกไก่พื้นเมือง ทั้งตลาดภายในและภายนอกชุมชน นอกจากนี้ยังเกิดการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองกลุ่มใหม่ในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ จำนวน 1 กลุ่ม ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ได้รับองค์ความรู้ต่าง ๆ จากโครงการ ฯ และมีการพัฒนาช่องทางการตลาดสมัยใหม่สำหรับ ไก่พื้นเมืองในตำบลตูมใหญ่ จำนวน 1 ช่องทาง ผ่านโปรแกรมเฟซบุค จัดประชุมสัมมนาการจัดการความรู้ ถอดบทเรียน และการส่งคืนความรู้ให้แก่ชุมชน และนำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติจากเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อความมั่นคงทางอาหารและสร้างรายได้ ฯ ไปขยายผลให้กับเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง คือ ตำบลคูเมือง อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สรุปได้ว่า การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีข้อเสนอแนะจากการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ คือ ควรส่งส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการผลิตไก่พื้นเมืองให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรือน และมุ่งเน้นการใช้สมุนไพรทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อสร้างความปลอดภัยกับผลผลิตและผู้บริโภค ควรส่งเสริมการรวมกลุ่มการแปรรูปผลผลิตจากไก่พื้นเมืองที่ได้มาตรฐาน ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง คือ ปศุสัตว์จังหวัดและสาธารณสุขจังหวัด ในการวางแผนการสร้างโรงเชือดแบบหลังบ้านที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้การแปรรูปไก่พื้นเมืองได้มาตรฐานมากขึ้น ควรส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเกษตรกรทั้งในและนอกชุมชน ส่งเสริมการผลิตแบบครบวงจร ตลอดจนการขยายตลาดภายนอกชุมชนให้มากขึ้น และส่งเสริมการใช้การตลาดแบบออนไลน์มากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์จากไก่พื้นเมืองได้สะดวกและรวดเร็ว ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล ปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์ตำบล พัฒนาชุมชน ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านพาณิชย์
สาขาการวิจัย
  • เกษตรศาสตร์
Creative Commons License


การถ่ายทอดองค์ความรู้ : การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและเพิ่มรายได้ ของเศรษฐกิจฐานราก is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.


ภาพที่เกี่ยวข้อง

เอกสารเพิ่มเติม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง