- ผศ. ดร. ชยากร ภูมาศ
- 390 ครั้ง
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การประยุกต์ใช้ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมแมลงศัตรูข้าวในภาคเหนือตอนล่าง |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รศ.ดร. วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ |
คำสำคัญ | ศัตรูธรรมชาติ;แมลงศัตรูข้าว;Metarhizium anisopliae |
หน่วยงาน | ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ |
ปีที่เผยแพร่ | 2559 |
คำอธิบาย | วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ เพื่อคัดเลือกไอโซเลตเชื้อราเขียวจากธรรมชาติที่มีศักยภาพเป็นชีวภัณฑ์สำหรับควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพื่อพัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยงมวนเขียวดูดไข่สำหรับใช้ควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์เชื้อราเขียวไอโซเลตทนร้อนควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจการจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวโดยชีววิธีให้แก่เกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนล่าง ผลการดำเนินการ ส่วนที่หนึ่ง พบเชื้อรา Metarhizium anisopliae ที่สามารถลงทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ได้จำนวน 6 ไอโซเลต คือ MNNS02, MNSK05, MNSK06, MNNS05, MNNS06 และ MNNS03 โดยมีอัตราการตายสะสมของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในวันที่ 7 หลังจากสัมผัสเชื้อรา ตั้งแต่ร้อยละ 57.00-97.00 ระยะเวลาที่ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตายร้อยละ 50 (LT50) คือ 6.8, 4.0, 3.0, 3.7, 3.2 และ 3.0 วันตามลำดับ ส่วนที่สอง พบว่ามวนเขียวดูดไข่มีศักยภาพในการพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์ได้ เพราะมีการขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณได้ 5.51 เท่าต่อชั่วอายุขัย และมีชั่วอายุขัยของกลุ่ม ยาวนานถึง 36 วัน เพศเมียมีอัตราการกินไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเท่ากับ 45 ฟอง ในขณะที่เพศผู้เท่ากับ 42 ฟอง ส่วนที่สาม ทำการทดสอบความจำเพาะเจาะจงของเชื้อราเขียวสายพันธุ์ทนร้อน จำนวน 4 ไอโซเลต คือ MRT-PCH-01-03, MRT-PCH-01-08, MRT-PCH-01-38 และMRT-PCH-01-48 ต่อการควบคุมแมลงศัตรูข้าว พบว่า เชื้อราเขียวทั้ง 4 ไอโซเลต มีความจำเพาะต่อ เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาก ทำให้เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตายร้อยละ 85.71-100.00 ภายในระยะเวลา 6-7 วัน ส่วนที่สี่ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจการจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวโดยชีววิธีให้แก่เกษตรกร คัดเลือกเกษตรกรทำแปลงสาธิต 3 ราย จากตำบลไผ่ขอดอนและตำบลจอมทอง อำเภอเมือง และตำบลตลุกกระเทียม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก พบว่าเกษตรกรได้เรียนรู้ถึงการสำรวจและการประเมินศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติ การเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติชนิดต่างๆ การาคิดต้นทุน-กำไรในการปลูกข้าวที่ใช้ศัตรูธรรมชาติเปรียบเทียบกับการใช้สารฆ่าแมลง พบว่าแปลงที่ควบคุมโดยใช้ศัตรูธรรมชาติมีต้นทุนใน 3 พื้นที่เท่ากับ 4,260, 4,200, และ 4,740 บาทต่อไร่ ตามลำดับ แต่แปลงควบคุมโดยใช้สารเคมีมีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 4,701.6, 4,696.8 และ 6,007.8 บาท ตามลำดับ ในส่วนของผลผลิตนั้น มีเพียงสองตำบลเท่านั้นที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ คือ ตำบลจอมทอง และตำบลตลุกกระเทียม ซึ่งมีผลผลิตโดยรวมเท่ากับ 819 และ 683 กก./ไร่ คำนวณเป็นรายได้โดยรวม 5,569.2 และ 8,196.0 บาท/ไร่ และรายได้สุทธิ 1,369.2 และ 3,456.0 บาท/ไร่ ในขณะที่ผลผลิตโดยรวมจากแปลงที่ควบคุมโดยใช้สารฆ่าแมลงได้ 854 และ 748 กก/ไร่ คำนวณเป็นรายได้โดยรวมได้เท่ากับ 4,696.8 และ 6,007.8 บาท/ไร่ และรายได้สุทธิ 1,110.4 และ 2,968.2 บาท/ไร่ |
สาขาการวิจัย |
|
การประยุกต์ใช้ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมแมลงศัตรูข้าวในภาคเหนือตอนล่าง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.