ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
เครื่องผลิตกรดไฮโปคลอรัสสำหรับฆ่าเชื้อโรคแบบใช้ในบ้าน |
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ |
The device generating hypochlorous acid for disinfection in house |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
วรากร ลิ่มบุตร |
เจ้าของผลงานร่วม |
กมลชนก ธรฤทธิ์ ,
ยุทธภูมิ ทิพย์วิมลมาศ ,
มารียัม หะยีอาบู ,
กฤตภาส แก้วหนู ,
เกียรติศักดิ์ พรหมสุวรรณ์ ,
อัสมี สอและ ,
สุภาธิณี คงแก้ว ,
สุภารัตน์ คชฉิม ,
กัสริน สายสหัส ,
เจนจิรา สายชนะพันธ์ |
คำสำคัญ |
เครื่องผลิตกรดไฮโปคลอรัส;น้ำยาฆ่าเชื้อโรค;ถ่ายทอดองค์ความรู้ |
หน่วยงาน |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ปีที่เผยแพร่ |
2566 |
คำอธิบาย |
“เครื่องผลิตกรดไฮโปคลอรัสสำหรับฆ่าเชื้อโรคแบบใช้ในบ้าน” ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด “เพราะน้ำยาฆ่าเชื้อไม่ได้มีแค่แอลกอฮอล์” สำหรับผลิตกรดไฮโปคลอรัสที่ซึ่งเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูก และปลอดภัย ในยุค “New Normal” (ความปกติรูปแบบใหม่) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ถ่ายทอดผลงานวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง “เครื่องผลิตกรดไฮโปคลอรัสสำหรับฆ่าเชื้อโรคแบบใช้ในบ้าน” ให้กับชุมชนอย่างน้อย 69 ครัวเรือน 2.) มีครัวเรือนอย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อกรดไฮโปคลอรัส และได้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อกรดไฮโปคลอรัสที่ผลิตได้ด้วยตัวเองภายในครัวเรือนหลังจากได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ และ 3.) ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง ที่สามารถเตรียมใช้แบบสดใหม่ได้เองในครัวเรือน ทำให้ประชาชนทั่วไปและชุมชนรู้สึกผ่อนคลาย และมีความสบายใจ ในการดำรงชีวิตในบ้านในสถานการณ์ปัจจุบัน
กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมนี้มีขั้นตอนการดำเนินการ 6 ขั้นตอน จากผลการดำเนินการพบว่า 1.) ได้ “เครื่องผลิตกรดไฮโปคลอรัสสำหรับฆ่าเชื้อโรคแบบใช้ในบ้าน” จำนวน 69 เครื่อง และได้ทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ 2.) ได้สื่อในรูปแบบ Infographic เพื่อใช้ในกิจกรรมสำหรับถ่ายทอดองค์ความรู้ และนำไปเผยแพร่ 3.) ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชนทั่วไปจากชุมชนต่างๆ จำนวน 69 ครัวเรือน และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมรวมจำนวน 284 คน 4.) มีครัวเรือนร้อยละ 100 สามารถผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อกรดไฮโปคลอรัส และได้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อกรดไฮโปคลอรัสที่ผลิตได้ด้วยตัวเองภายในครัวเรือนหลังจากได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ 5.) ได้ผลความพึงพอใจในรูปแบบการใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 284 คน มีค่าเฉลี่ยในระดับดีมาก 6.) ได้ประเมินผล ถึงจุดเด่น ข้อจำกัด และข้อเสนอแนะ ของ “เครื่องผลิตกรดไฮโปคลอรัสสำหรับฆ่าเชื้อโรคแบบใช้ในบ้าน” และ 7.) ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง ที่สามารถเตรียมใช้แบบสดใหม่ได้เองในครัวเรือน ทำให้ประชาชนทั่วไปและชุมชนรู้สึกผ่อนคลาย และมีความสบายใจ ในการดำรงชีวิตในบ้านในสถานการณ์ปัจจุบัน
โดยผลผลิตที่เกิดคือ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง“เครื่องผลิตกรดไฮโปคลอรัสสำหรับฆ่าเชื้อโรคแบบใช้ในบ้าน” ให้กับชุมชนต่างๆ จำนวน 69 ครัวเรือน ผลลัพธ์ที่ได้คือ ร้อยละ 100 ครัวเรือนได้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อกรดไฮโปคลอรัสที่สดใหม่ที่ผลิตได้ด้วยตัวเองภายในครัวเรือน และผลกระทบที่ได้คือ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง ที่สามารถเตรียมใช้แบบสดใหม่ได้เองในครัวเรือน ทำให้ประชาชนทั่วไปและชุมชนรู้สึกผ่อนคลาย และมีความสบายใจ ในการดำรงชีวิตในบ้านในสถานการณ์ปัจจุบัน |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ |
ด้านสังคม/ชุมชน |
สาขาการวิจัย |
-
วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ
|