ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง โครงการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกข้าวด้วยข้อมูลดัชนีเสี่ยงความแห้งแล้งเชิงพื้นที่
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ Knowledge Management for Developing Efficiency of Irrigating Water Allocation and Paddy Field Cultivation by Geo-Spatial Drought Risk Indices
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง เครือวัลย์ จำปาเงิน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ Khruewan Champangern
เจ้าของผลงานร่วม ชิษณุชา บุดดาบุญ , พีระพงศ์ รัตนบุรี , ปราณปริยา วงค์ษา , วริษฐ์ กิตติ์ธนารุจน์ , ศิวสรรค์ ขอบใจกลาง , เพชรจรัส เตชเกรียงไกรกุล
คำสำคัญ ภัยแล้ง;พื้นที่เสี่ยง;ระบบการสำรวจระยะไกล;ดัชนีเสี่ยงความแห้งแล้ง;การจัดการความรู้
หน่วยงาน สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
ปีที่เผยแพร่ 2567
คำอธิบาย โครงการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกข้าวด้วยข้อมูลดัชนีเสี่ยง ความแห้งแล้งเชิงพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการถ่ายทอดและส่งต่อองค์ความรู้ด้านการใช้ข้อมูลจากดาวเทียม เพื่อติดตามพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งให้กับเกษตรกรและหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการ สนับสนุนวางแผนการเพาะปลูกและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรน้ำในพื้นที่เพาะปลูกข้าวได้ การดำเนินงานของ โครงการเริ่มต้นจากการพัฒนาระบบวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงภาวะแห้งแล้งด้วยข้อมูลจากดาวเทียมในพื้นที่ตำบล หนองโดน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งเพาะปลูกข้าวที่ให้ปริมาณผลผลิตที่มีคุณภาพสูงสุด แห่งหนึ่งในประเทศไทย แต่เป็นพื้นที่ที่คาดว่าจะประสบปัญหาภัยแล้งในอนาคต การพัฒนาระบบวิเคราะห์หาพื้นที่ เสี่ยงภาวะแห้งแล้งจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรและหน่วยงานท้องถิ่นสามารถใช้ในการคาดการณ์ภัยแล้ง ในพื้นที่ของตนล่วงหน้าได้ นำไปสู่การวางแผนเพื่อรับมือภัยแล้งในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยหลังจาก การพัฒนาระบบวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงภาวะแห้งแล้งแล้วเสร็จ ได้มีการจัดฝึกอบรมการใช้งานระบบฯ ให้กับ นักศึกษาและอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคการศึกษาในพื้นที่ เพื่อสร้างบุคลากรพร้อมใช้ให้เป็นวิทยากรท้องถิ่นที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้งานระบบฯ ให้กับ เกษตรกรกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 พระราชทาน “เพื่อนช่วยเพื่อน” ตำบลหนองโดน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 60 คน ให้มีความรู้และความเข้าใจ ตลอดจนสามารถใช้ข้อมูลจากระบบฯ เพื่อช่วย ในการตัดสินใจและวางแผนป้องกันภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยหลังจากมีการจัดฝึกอบรมการใช้งานระบบฯ ให้กับเกษตรกรรวมทั้งผู้นำท้องถิ่น และมีการติดตามการใช้งานระบบฯ หลังจากเข้าร่วมการฝึกอบรมแล้ว มีการจัดเสวนาถอดบทเรียนโครงการฯ เพื่อรับฟังข้อเห็นจากกลุ่มเกษตรกรและหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งพบว่า กลุ่มเกษตรกรมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบฯ และสามารถนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ กับวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกข้าวเพื่อป้องกัน ภัยแล้งในพื้นที่ได้ รวมทั้งสามารถให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาต่อยอดระบบ ฯ ในอนาคต เช่น การพัฒนาฟังก์ชันเพิ่มเติมด้านช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ย ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการดำนา หรือหว่านข้าว การแสดงราคาปุ๋ย ราคายาฆ่าแมลง ราคารถเกี่ยวข้าว นอกจากนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ยังสามารถนำองค์ความรู้ทางด้านการจัดการภัยแล้งไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรในชุมชนอื่นใกล้เคียง ซึ่งเป็นการ ต่อยอดในการสร้างผู้นำและวิทยากรท้องถิ่นเพื่อขยายองค์ความรู้สู่ชุมชนในวงกว้าง รวมทั้งมีความต้องการให้ ภาครัฐจัดทำโครงการจัดการความรู้ในลักษณะนี้ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อที่เกษตรกรจะได้มีความรู้ความเข้าใจ ในเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและความเป็นอยู่ นำไปสู่การสร้างงานสร้าง รายได้และพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านสังคม/ชุมชน
สาขาการวิจัย
  • สังคมศาสตร์

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เอกสารเพิ่มเติม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง