ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การถ่ายทอดเทคนิคการผลิตผ้ามัดหมี่ลายพร่าเลือนสู่สินค้าทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์เพื่อ พึ่งพาตนเองแก่โครงการส่งเสริมศิลปาชีพอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ |
---|---|
ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง ภาษาอังกฤษ | The transfer production of Blurred motifs Ikat fabric techniques to creative cultural products for self-reliance to the Promotion of Arts and Crafts, Lahan Sai District, Buriram Province |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | รองศาสตราจารย์สมบัติ ประจญศานต์ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ภาษาอังกฤษ | Sombat Prajonsant |
คำสำคัญ | หัตถกรรม;พึ่งพาตนเอง;ผ้าทอมือ;ไหม;ผ้ามัดหมี่ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2567 |
คำอธิบาย | เป้าหมายหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) คือการเพิ่มศักยภาพชุมชนและเศรษฐกิจ ฐานรากให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ อันเป็นการสนองหลักทรงงานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ความว่า “ให้ความรู้ ให้อาชีพเสริมที่จะให้อยู่เย็นเป็นสุขขึ้น” ซึ่ง พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้มีการพัฒนาหมู่บ้านชายแดนไทยกัมพูชา จัดตั้งโครงการส่งเสริมศิลปาชีพอำเภอ ละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ส่งเสริมให้มีอาชีพเสริมด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าตาม ภูมิปัญญาดั้งเดิม แต่การพัฒนาสินค้าชุมชนประเภทผ้าไหมมัดหมี่ทอมือมีความจำเป็นเร่งด่วน เนื่องจากความ ต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อสินค้าจากลวดลาย สีสันและเนื้อผ้า โครงการนี้จึงได้นำองค์ความรู้ จากโครงการวิจัยเทคนิคการสร้างลายแบบพร่าเลือนในงานไหมมัดหมี่ และโครงการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อถ่ายทอดแก่ กลุ่มผู้ผลิตการทอผ้าในพื้นที่เป้าหมาย 2) เพื่อพัฒนาทักษะการออกแบบ การผลิตผ้ามัดหมี่ทอมือลายแบบพร่า เลือนและ 3) เพื่อวัดผลความสำเร็จของการดำเนินการร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน และกลุ่มขยายผลจำนวน 30 คน ดำเนินกิจกรรมสังเคราะห์ผลจากงานวิจัยโดยจัดทำเป็นคู่มือแล้วจัดอบรมเชิง ปฏิบัติการด้านการออกแบบ การผลิต การเพิ่มมูลค่า นำองค์ความรู้จากการอบรมไปสู่การปฏิบัติผลิตเป็นผืนผ้าไหม มัดหมี่ทอมือ นำผลิตภัณฑ์ไปทดสอบตลาด อบรมเพื่อส่งเสริมการตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จัดประชุมถ่ายทอด ความรู้ขยายผลไปยังกลุ่มขยายผล มีการติดตามการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์จริง และจัดเวทีสรุปบทเรียน ผล การดำเนินโครงการทำให้ได้ผลผลิตเป็น 1) คู่มือการถ่ายทอดองค์ความรู้ จำนวน 500 เล่ม 2) ต้นแบบผ้าไหมมัดหมี่ ลายพร่าเลือน จำนวน 12 ผืน หลังการดำเนินโครงการมีข้อเสนอแนะว่า การส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ผู้ผลิตต้องเน้นการติดตามการรักษาคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงควรเร่งหาแนวทางในการพัฒนาการตลาดมูลค่าสูงเพื่อจูงใจคนรุ่นใหม่เข้าสู่การสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญา ผ้ามัดหมี่ทอมือต่อไป |
กลุ่มการนำไปใช้ประโยชน์ | ด้านพาณิชย์ |
สาขาการวิจัย |
|
การถ่ายทอดเทคนิคการผลิตผ้ามัดหมี่ลายพร่าเลือนสู่สินค้าทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์เพื่อ พึ่งพาตนเองแก่โครงการส่งเสริมศิลปาชีพอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.