ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | การจัดการไฟป่าเพื่อบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | กอบศักดิ์ วันธงไชย |
เจ้าของผลงานร่วม | ประสงค์ สงวนธรรม , สาพิศ ดิลกสัมพันธ์ , สาวิตรี การีเวทย์ , พรเทพ เหมือนพงษ์ , จงรัก วัชรินทร์รัตน์ |
คำสำคัญ | การจัดการไฟป่า;ป่าพรุ;พรุควนเคร็ง;การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ;การปลดปล่อยก๊าซ;การเก็บกักคาร์บอน |
หน่วยงาน | คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ปีที่เผยแพร่ | 2559 |
คำอธิบาย | EF) พบว่าได้ค่า EF- CO2 ค่า EF- CO ค่า EF- BC และค่า EF- PM2.5 อยู่ในช่วง 1,508-1,622 กรัม CO2/กิโลกรัมน้ำหนักแห้งชีวมวล 81-108 กรัม CO/กิโลกรัมน้ำหนักแห้งชีวมวล 1.0-1.3 กรัม BC/กิโลกรัมน้ำหนักแห้งชีวมวล และ14.3-47.6 กรัม PM2.5/กิโลกรัมน้ำหนักแห้งชีวมวล ตามลำดับ ซึ่งค่าใกล้เคียงกับค่า EF ของสารมลพิษที่มีการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ แต่ยังมีความแตกต่างและความคลาดเคลื่อนในการประเมินอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในส่วนของฝุ่นขนาดเล็ก และ BC ในส่วนของก๊าซ CH4 ผลการตรวจวัดยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน เนื่องจากตัวอย่างตรวจวัดส่วนใหญ่มีปริมาณการปลดปล่อยน้อยกว่าที่สามารถวัดได้ ดังนั้นเพื่อสามารถปรับปรุงและตรวจสอบค่า EF ให้เป็นค่าเฉพาะของประเทศไทยตามมาตรฐานสากล จึงควรศึกษาต่อยอดโดยทำการจำลองการเผาในพื้นที่ศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีชั้นพรุอยู่ใต้ผิวดิน ผลการประเมินสิ่งปกคลุมดินชนิด ปริมาณ เชื้อเพลิง และความเสี่ยงต่อไฟป่า โดยใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกล พบว่าบริเวณป่าพรุควนเคร็งที่ศึกษาพบพื้นที่ปกคลุมด้วยไม้เสม็ดขาวร้อยละ 56.25 ของพื้นที่ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีความสมบูรณ์ปานกลาง (ร้อยละ 25.64) และพื้นที่เสื่อมโทรม (ร้อยละ21.05) การจำแนกพื้นที่ความเสี่ยงต่อการเกิดไฟในพรุในพื้นที่วิจัย 3 ระดับ คือระดับความเสี่ยงน้อย ปานกลางและมาก เป็นสัดส่วนrพื้นที่ร้อยละ 3.98, 36.25 และ 49.77 ตามลำดับ เมื่อทดลองย้อนเทียบกับสถิติการเกิดไฟในช่วง ปี พ.ศ 2550 ถึง 2555 ช่วง พบว่า อันดับจุดที่เกิดไฟที่พบในแต่ละระดับความเสี่ยง คือ ระดับปานกลาง 236 ครั้ง ระดับมากถึงเสี่ยงมากที่สุด 218 ครั้ง และระดับเสี่ยงน้อยถึงน้อยที่สุด 22 ครั้ง จุดเกิดไฟพบบริเวณขอบ เขตรอยต่อกับพื้นที่เกษตรกรรม มีสาเหตุมาจากการจุดไฟเผาพื้นที่ โดยตั้งใจเพื่อบุกเบิกพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ ผลการศึกษาที่ได้เหล่านี้ถูกนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ร่วมกับข้อมูลอื่นๆ และได้ทำเป็นบทวิเคราะห์และแนวทางในการบริหารจัดการไฟในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง แต่อย่างไรก็ตามควรจะต้องมีการตรวจสอบติดตามว่าผลจากไฟไหม้จะมีผลระยะยาวต่อพื้นที่แห่งนี้อย่างไร รวมทั้งหากมีการเกิดไฟไหม้ซ้ำในพื้นที่เดิมไฟจะมีลักษณะอย่างไร ลักษณะของการเก็บกักสูญเสียคาร์บอนและความเสียหายต่อระบบนิเวศจะเป็นเช่นไร นอกจากนี้ ลักษณะของไฟที่เกิดขึ้นในปีที่แห้งแล้งมากๆ จะมีความแตกต่างออกไปทั้งในลักษณะของพฤติกรรมและผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งนักจัดการไฟป่าควรจะต้องทราบเพื่อเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาในสภาพอากาศที่แห้งแล้งจัดในปีต่อๆ ไป ด้วย |
สาขาการวิจัย |
|
การจัดการไฟป่าเพื่อบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.