ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
Repeated batch fermentation for photo-hydrogen and lipid production from wastewater of sugar manufacturing plant |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
Dr. Thitirut Assawamongkholsiri, Prof.Dr. Alissara Reungsang |
เจ้าของผลงานร่วม |
The National Research Council of Thailand (Grant No. PK/2556-PO.1) ,
The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program (Grant No. PHD/0194/2552), Thailand Research Fund |
คำสำคัญ |
Rhodobacter sp. KKU-PS1, bacterial lipid, bio-hydrogen, photo-bioreactor |
หน่วยงาน |
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ปีที่เผยแพร่ |
2559 |
คำอธิบาย |
การศึกษาการขยายขนาดการผลิตไฮโดรเจนและไขมันจากน้ำเสียโรงงานน้ำตาลโดย Rhodobacter sp. KKU-PS1 ในกระบวนการหมักแบบกะซ้ำ เริ่มต้นการศึกษาโดยกระบวนการหมักแบบกะเพื่อศึกษาขนาดหัวเชื้อเริ่มต้นที่เหมาะสม แปรผันความเข้มข้นของเชื้อระหว่าง 0.23 ถึง 0.92 ก.น้ำหนักเซลล์แห้ง/ลิตร ผลการศึกษาพบว่าที่ความเข้มข้นเซลล์เริ่มต้นเท่ากับ 0.77 ก.น้ำหนักเซลล์แห้ง/ลิตร มีอัตราการผลิตไฮโดรเจนสูงสุดเท่ากับ 5.24 มล.ไฮโดรเจน/ลิตร.ชม. ได้ปริมาณไขมันที่ค่อนข้างสูงเท่ากับ 241 มก.ไขมัน/ลิตร หลังจากนั้นได้ศึกษาการผลิตไฮโดรเจนจากน้ำเสียโรงงานน้ำตาลในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแบบมีแสงขนาด 1.7 ลิตร มีปริมาตรการทำงานเท่ากับ 1.2 ลิตร โดยใช้ขนาดหัวเชื้อที่เหมาะสมจากขั้นตอนแรก ผลการทดลองพบว่า อัตราการผลิตไฮโดรเจนในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพแบบมีแสงในการหมักแบบกะมีค่าสูงกว่าอัตราการผลิตไฮโดรเจนที่ได้จากการหมักในขวดซีรั่มถึง 1.73 เท่า และได้ปริมาณไขมันสูงมากขึ้นด้วย (287 มก.ไขมัน/ลิตร) จากนั้นได้ศึกษาการผลิตไฮโดรเจนจากน้ำเสียโรงงานน้ำตาลโดยกระบวนการหมักแบบกะซ้ำ ซึ่งแปรผันอัตราการเปลี่ยนถ่ายอาหารที่ร้อยละ 25 50 และ 75 ผลการศึกษาพบว่าไม่มีการผลิตไฮโดรเจนที่ทุกๆ ค่าอัตราการเปลี่ยนถ่ายอาหาร แต่พบว่าที่อัตราการเปลี่ยนถ่ายอาหารร้อยละ 75 ทำให้มีความเข้มข้นชีวมวล และปริมาณไขมันสูงที่สุด เท่ากับ 2.83 กรัมเซลล์แห้ง/ลิตร และ 685 มก.ไขมัน/ลิตร ตามลำดับ โดยมีกรดไขมัน C18:1 (ร้อยละ 51.2) C18:0 (ร้อยละ 24.9) และ C16:0 (ร้อยละ 9.1) เป็นกรดไขมันหลัก และพบว่ากรดแลกติก กรดโพพิโอนิก กรดอะซิติก และกรดบิวทีริก ในน้ำเสียโรงงงานน้ำตาล เป็นแหล่งคาร์บอนที่เหมาะสมต่อการผลิตชีวมวลของ KKU-PS1 ตามลำดับ |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
http://biohydrogenkku.org/index.php/site-map-2/111-2015-10-08-08-44-56
|
สาขาการวิจัย |
|