ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง นวัตกรรมสีเกล็ดมุก : การจัดการความรู้เพื่อนำไปสู่การสร้างมาตรฐานสำหรับการผลิต
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์
คำสำคัญ นวัตกรรม;สีกว๊อซ;เปลือกหอยแมลงภู่;สีเกล็ดมุก;เกล็ดประกายมุก
หน่วยงาน สาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย การพัฒนาคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operation Procedure, SOP) สำหรับการพัฒนาสีเกล็ดมุกนี้ ประกอบด้วย การสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน ของ United States Environmental Protection Agency ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญที่คู่มือนี้ได้นำไปปรับปรุงใช้ ได้แก่ การกำหนดขอบเขตและการนำไปใช้ (Scope and Applicability) วิธีการโดยสังเขป (Summary of the Method) การกำหนดมาตรฐานผลิตสีเกล็ดมุก (Methodology and Procedures) การกำหนดวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต (Material and Equipment Establishing) การวางกระบวนการและวิธีการผลิตสีเกล็ดมุก (Methodology and Procedures) การกำหนดขอบเขตและวิธีการใช้สีเกล็ดมุก การให้นิยามความหมายหรือคำเฉพาะในกระบวนการ (Clarification of Terminology) การกำหนดคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ (Health and Safety Warnings) ข้อควรระวังและสิ่งที่อาจรบกวนคุณสมบัติของสีเกล็ดมุก (Cautions and Interferences) การศึกษาข้อมูลดังกล่าวทำให้เกิดคู่มือการผลิตสีเกล็ดมุกที่ช่วยปรับปรุงวิธีการผลิตจากผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ให้สามารถผลิตในปริมาณที่มากยิ่งขึ้นได้ โดยยังคงควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการผลิตอยู่ ทั้งนี้การผลิตเกล็ดประกายมุกซึ่งเป็นห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) มิได้นำมาบรรจุอยู่ในคู่มือนี้ เนื่องจากงานวิจัยนวัตกรรมการแปรรูปเกล็ดมุกจากเปลือกหอยแมลงภู่ที่ได้จากอุตสาหกรรมอาหารทะเล เป็นผลงานวิจัยต้นน้ำที่ผู้วิจัยมิได้เข้าไปเกี่ยวข้อง แต่ได้นำเกล็ดประกายมุกมาใช้เป็นส่วนประกอบของเนื้อสีเกล็ดมุก หรือใช้เป็นห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นคู่มือการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานฉบับนี้จึงไม่มีการกล่าวถึงขั้นตอนการผลิตเกล็ดประกายมุกแต่อย่างใด สีเกล็ดมุกที่ผลิตขึ้นจากกระบวนการ SOPนี้ ถูกนำไปให้ศิลปินที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย จำนวน 3ท่าน ทดลองใช้และให้ประเมินระดับความพึงพอใจด้วยมาตร 7ระดับ ผลความพึงพอใจในการนำไปใช้เป็นสื่อจิตรกรรมอยู่ในเกณฑ์พอใจมาก (6.5 /7) รวมทั้งได้นำไปให้นักเรียนในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและ อุดมศึกษา ทดลองใช้ด้วย โดยประเมินความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ (4.36 /5) ข้อเสนอแนะสำหรับการผลิตสีเกล็ดมุก คือ 1. ควรมีข้อตกลงเป็นหนังสือสัญญาให้การสนับสนุนวัตถุดิบ 2. ควรสำรวจจำนวนผู้ผลิตสีน้ำทึบแสงอื่นเพิ่มเติมในประเทศไทย 3. การทดสอบสีเกล็ดมุก ควรเป็นผู้มีประสบการณ์กับสีน้ำทึบแสง 4. ควรหยิบประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เป็นจุดเด่นของนวัตกรรมสีเกล็ดมุก
สาขาการวิจัย -

ภาพที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง