ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง |
อิทธิพลของเมทิลจัสโมเนทและกรดจัสโมนิกต่อปริมาณสารฟีนอลิกของเซลล์แขวนลอยหม่อน ข้าว และถั่วเหลืองในสภาพปลอดเชื้อ |
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง |
นายฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง |
เจ้าของผลงานร่วม |
รศ.ดร. อรพิน เกิดชูชื่น ,
รศ.ดร. ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์ |
คำสำคัญ |
เซลล์แขวนลอย;หม่อน;ข้าว;ถั่วเหลือง;สารกระตุ้น;ฟีนอลิก;สารต้านอนุมูลอิสระ;สารทุติยภูมิ;ไทโรซิเนส;ความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนัง;เซลล์มะเร็ง |
หน่วยงาน |
ห้องปฏิบัติการ Phytobioactive and Flavor สายวิชาเทคโนโลยีชีวเคมี คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 49 ถนนเทียนทะเล 25 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพ 10150 |
ปีที่เผยแพร่ |
2559 |
คำอธิบาย |
เทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์พืชแบบเซลล์แขวนลอยร่วมกับการใช้สารกระตุ้นเป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากสามารถสังเคราะห์สารในกลุ่มฟีนอลิกได้ในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นและมีคุณภาพสม่ำเสมอ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สารกระตุ้นเมทิลจัสโมเนทและกรดจัสโมนิก ความเข้มข้น 0, 50, 100, 150 และ 200 µM ต่อปริมาณสารฟีนอลิก ความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของเซลล์แขวนลอยหม่อน ข้าว และถั่วเหลือง ผลการศึกษาพบว่าทุกความเข้มข้นของสารกระตุ้นทั้งสองชนิดยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์แขวนลอยหม่อน ข้าว และถั่วเหลือง แต่มีปริมาณสารฟีนอลิก ความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้เมทิลจัสโมเนทความเข้มข้น 50 µM สามารถเพิ่มปริมาณฟีนอลิก ความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสารทุติยภูมิในพืชได้สูงสุด นอกจากนี้เมื่อนำสารสกัดจากเซลล์หม่อน ข้าวและถั่วเหลืองมาทดสอบความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง และเซลล์ผิวหนัง พบว่า สามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส และเซลล์มะเร็งได้ และไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังของคนอีกด้วย
|
สาขาการวิจัย |
|