ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง | ศักยภาพ ข้อจำกัดและความยั่งยืนของโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากมูลฝอย ตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ |
---|---|
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง | พิเศษ นันต๊ะหม่น |
คำสำคัญ | ของเสีย;การปรับแต่งและเชื่อมประสานทางสังคมและเทคนิค;การบริหารจัดการระบบลักษณะพิเศษเชิงกลยุทธ์ |
หน่วยงาน | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ กทม.10210 โทรศัพท์ 0 - 2141 -6200 |
ปีที่เผยแพร่ | 2559 |
คำอธิบาย | สรุปผล การปรับแต่งและเชื่อมประสานทางสังคมและเทคนิค และความยั่งยืนของโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากมูลฝอย พบว่า มี 3 เรื่อง ได้แก่ 1. การจัดการมูลฝอย 2. ระบบการผลิตไฟฟ้า และ 3. ด้านเศรษฐกิจ ในปัจจุบันมีการปรับแต่งและเชื่อมประสานทางสังคมและเทคนิคจนมีประสิทธิภาพ แต่ยังมีปัญหา คือ การคัดแยกมูลฝอยในรูปแบบการจัดการร่วมของท้องถิ่นก่อนการฝังกลบ การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าใหม่แทนเครื่องเดิม และการเปลี่ยนแปลงการหนุนช่วยของภาครัฐ ADDER ในส่วนของการมีส่วนร่วมกับชุมชนจะยั่งยืนนั้นขึ้นอยู่กับการให้ประโยชน์เพื่อชดเชยความสูญเสียทางนิเวศมากกว่าบริจาค เช่น การจ้างงาน การให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า เป็นต้น ดังนั้นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการกำจัดมูลฝอยอย่างถูกสุขวิธี คือ การรณรงค์และส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความตระหนักและให้ความร่วมมือในการคัดแยกมูลฝอยจากต้นทาง เพื่อให้สามารถแยกมูลฝอยออกมากำจัดตามเทคโนโลยีแต่ละประเภท และเพื่อให้ได้รับพลังงานกลับคืนมามากที่สุด และบรรลุเป้าหมาย ตามยุทธศาสตร์พลังงานในปี พ.ศ. 2554 จะต้องมีการติดตั้งระบบผลิตพลังงานในรูปไฟฟ้าจากมูลฝอยชุมชน จำนวน 100 MW ที่ตั้งไว้ของกระทรวงพลังงาน และเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมในการกำจัดและผลิตพลังงานได้แก่ เทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไร้ออกซิเจน |
สาขาการวิจัย |
|
ศักยภาพ ข้อจำกัดและความยั่งยืนของโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากมูลฝอย ตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.