ชื่อโครงการวิจัย/ชื่อเรื่อง วิจัยยางพาราเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ชื่อนักวิจัย/ชื่อผู้แต่ง ดร.ไพโรจน์ คีรีรัตน์
เจ้าของผลงานร่วม ดร.เจริญยุทธ เดชวายุกุล , ดร.วิริยะ ทองเรือง , ดร.คณดิถ เจษฎ์พัฒนานนท์ , ดร.วิไลรัตน์ ชีวะเศรษฐธรรม , ดร.วราภรณ์ ขจรเดชไชยกุล , ผศ.เสาวนีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี
คำสำคัญ วิจัยยางพารา;การเพิ่มค่ายางพารา;ผลิตภัณฑ์ยางพารา
หน่วยงาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ปีที่เผยแพร่ 2559
คำอธิบาย ไทยส่งออกยางพาราแผ่นมากเป็นอันดับ 3 แม้ตลาดโลกด้านยางพาราจะร้อนแรงแค่ไหน แต่ยางพาราของไทยยังคงไม่เปลี่ยนแปลงทั้งในด้านประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลิตผล ยังคงวนเวียนอยู่ในวิถีเดิม ชาวบ้านยังขาดเทคโนโลยี ที่เหมาะสมและยังไม่มีการทุ่มงานวิจัยเข้ามาช่วยเหลือ ดังนั้นโครงการวิจัยยางพาราแห่งชาติของสกว.จึงเกิดขึ้น การจะแก้ปัญหาใหญ่และซับซ้อนต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ บนเวทีที่หลายองค์กรมีส่วนรวม ด้วยกระบวนการวิจัยที่จะสร้างองค์ความรู้ที่ใช้ได้จริงกับสังคมไทย ตัวอย่างเช่น ปัญหายางมีการสั่นสะเทือนมากเมื่อนำไปใช้งาน ของโรงงานผลิตล้อยางตันแบบที่ผลิตจากยางธรรมชาติในชั้นในและหุ้มด้วยยางรีไซเคิลในชั้นนอกของผู้ประกอบการ บริษัทสยามไพโอเนียร์รับเบอร์ ทีมวิจัยเข้าไปตรวจสอบร่วมคิดค้นร่วมกับเจ้าหน้าที่ในโรงงาน พัฒนาเครื่องม้วนยางใหม่ที่มีการกดและพันยางที่ดีขึ้น มีหนาแน่นในระหว่างชั้น มีสมมาตร และทำได้หลายขนาด จากจุดนี้ทำให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้และนำมา พัฒนาต่อยอดพัฒนาเครื่องให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากจุดเล็ก ๆ นี้เกิดการขยายผลไปสู่อุตสาหกรรมการแปรรูปถุงมือยางซึ่ง ใช้น้ำยางข้นในการผลิต จากเดิมเกิดถุงมือยางเสียในกระบวนผลิตจำนวนมาก โดยมีสาเหตุมาจากน้ำสบู่ในน้ำยางข้น นักวิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมช่วยกันคิดค้นวิธีการแก้ไข เกิดเครื่องตรวจสอบและปรับให้น้ำยางมีคุณภาพที่เหมาะสม ทำให้จำนวนถุงมือที่เสียลดลงไปอย่างมาก มีการจดสิทธิบัตร เทคโนโลยีสร้างทางเลือกแก่การผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีการใช้น้ำยางข้นในการผลิตด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=FTnhjLT0gZE
สาขาการวิจัย
  • วิศวกรรมและเทคโนโลยี
Creative Commons License


วิจัยยางพาราเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 3.0 Thailand License.

วิดีโอ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง